การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 (อุดรธานี)

Main Article Content

สุจิตรา โซ่พิมาย

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 (อุดรธานี) และ 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 (อุดรธานี) จำนวน 429 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป


ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ จำนวน 10 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ความตระหนักทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ การเห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม และการยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม องค์ประกอบที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ คือ ความรู้ในวัฒนธรรมเฉพาะ และความรู้ในวัฒนธรรมหลากหลาย องค์ประกอบที่ 3 ทักษะทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ คือ ความไวทางวัฒนธรรม ความยืดหยุ่นในการปรับตัวทางวัฒนธรรมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างวัฒนธรรม ความสามารถในการสื่อสารต่างภาษา และการกำกับตนเองด้านวัฒนธรรม
2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลการวัดสรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ χ2= 11.543, df = 10, P = 0.3168, CFI = 0.999, TLI = 0.998, RMSEA = 0.019, SRMR = 0.012 และค่า χ2/df = 1.154 ยืนยันว่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Article Details

How to Cite
[1]
โซ่พิมาย ส., “การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะเชิงวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 (อุดรธานี)”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 2, pp. 214–223, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)