ความต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

Main Article Content

จาตุรนต์ สุขุมาลพงษ์

Abstract

การศึกษาความต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อสถาบันการศึกษา ที่จะช่วยเป็น
แนวทางในการพัฒนาและวางแผนบริหารงานการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อได้ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย
ของการวิจัยเพื่อจัดอันดับความต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ศึกษาความต้องการเข้าศึกษาต่อสาขาวิชา
ต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศึกษาแรงจูงใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความต้องการเข้าศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และเพื่อศึกษาภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนบน ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,735 คน จาก 7 จังหวัด ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม 1 ฉบับ เป็นชนิดตรวจสอบรายการ
(Checklist) จำนวน 21 ข้อและเป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ มีค่าอำนาจ
จำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ .50 ถึง .64 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการจัดอันดับความต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุดรธานีเป็นอันดับแรก (ร้อยละ 32.10) รองลงมาได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ร้อยละ 27.03) และ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ร้อยละ 19.70)
2. ผลการศึกษาความต้องการเข้าศึกษาต่อสาขาวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ของกลุ่มตัวอย่าง
เรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาภาษาไทย คณะ
ครุศาสตร์ และสาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์
3. กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจต่อความเข้าการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยรวม
อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.69) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียน
มีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศ ( gif.latex?\bar{X} = 4.04) เป็นการยกระดับฐานะตนเองและครอบครัวให้เป็นที่
ยอมรับในสังคม ( gif.latex?\bar{X} = 3.84) และมหาวิทยาลัยมีโครงการทุนกูยื้มเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) จนจบการศึกษา ( gif.latex?\bar{X} = 3.79)
4. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีโดยรวมและรายข้อทุกข้ออยู่ใน
ระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.76-3.86) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีเป็นคน
ที่มีคุณภาพ มีความรู้ มีทักษะ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( gif.latex?\bar{X} = 3.86) คณาจารย์มีความรู้ความสามารถ
และมีชื่อเสียงเป็นที่น่าเชื่อถือ ( gif.latex?\bar{X} = 3.85) และมหาวิทยาลัยมีความเป็นผู้นำทางการศึกษาให้กับท้องถิ่น ( gif.latex?\bar{X} = 3.84)
โดยสรุป ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรนำผลการวิจัยเป็นข้อมูลในการวางแผนเปิดหลักสูตรการเรียน
การสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและการรองรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุดรธานีได้

Article Details

How to Cite
[1]
สุขุมาลพงษ์ จ., “ความต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 2, pp. 31–40, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)