การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนสื่อความของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบ PANORAMA ร่วมกับเทคนิค STAD

Main Article Content

อัญชลี โยธาทิพย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดยใช้วิธีการสอนแบบ PANORAMA ร่วมกับเทคนิค STAD ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวน
นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) พัฒนาความสามารถในการเขียนสื่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดยใช้วิธีการสอนแบบ PANORAMA ร่วมกับเทคนิค STAD ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเรียน 3/1
โรงเรียนบ้านเทา-นาบอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
จำนวน 35 คน การวิจัยใช้รูปแบบ Action Research ประกอบด้วย 3 วงจรปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น
3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ
PANORAMA ร่วมกับเทคนิค STAD จำนวน 8 แผน เวลา 16 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย
แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนการสอนของครู แบบบันทึกความคิดเห็นของนักเรียน แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้
แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน แบบทดสอบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ท้ายวงจร
แบบทดสอบความสามารถในการเขียนสื่อความท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการวิจัย ประกอบด้วย
แบบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อและ แบบวัดความ
สามารถในการเขียนสื่อความแบบอัตนัย จำนวน 20 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content
Analysis)


ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 24.40 คิดเป็นร้อยละ
81.33 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 82.86 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเขียน สื่อความเฉลี่ยเท่ากับ 22.00
คิดเป็นร้อยละ 73.33 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 77.14 ของจำนวน
นักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
[1]
โยธาทิพย์ อ., “การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนสื่อความของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการสอนแบบ PANORAMA ร่วมกับเทคนิค STAD”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 1, pp. 254–260, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)