การสร้างชุดการสอนเปียโนสำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตา ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

สุวภัทร พรหมมาศ

Abstract

การสร้างชุดการสอนเปียโนสำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตาในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนวิชาดนตรีของนักเรียนผู้พิการทางสายตา
ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อสร้างชุดการสอนเปียโนสำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตา ในระดับ
ชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้เรียน วิธีการวิจัยในครั้งนี้เป็นการสร้างสื่อชุดการสอน
และนำไปทดลองปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนผู้พิการทางสายตาในระดับประถมศึกษาตอนปลายที่ 4-6
ของโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่นมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จำนวน 14 คนและใช้แบบสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการศึกษาปัญหาและพัฒนาการเรียน
การสอนวิชาดนตรีของนักเรียนผู้พิการทางสายตา ยังไม่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับนักเรียนผู้พิการทางสายตา
ขาดครูผู้เชี่ยวชาญวิชาดนตรี ขาดสื่อการเรียนการสอน อาคารสถานที่ห้องเรียน อุปกรณ์เครื่องดนตรีไม่พร้อมใช้งาน
นักเรียนไม่เคยเรียนและสัมผัสโน้ตเบรลล์มาก่อนชุดการสอนเปียโนสำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตาในระดับชั้น
ประถมศึกษาตอนปลายช่วยเพิ่มทักษะด้านระบบประสาททางหูในการฟังมากยิ่งขึ้น แผนการสอนเป็นระบบ และ
การฝึกฟังบ่อยๆช่วยเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนทำให้นักเรียนผู้พิการทางสายตาสามารถพัฒนาการปฏิบัติได้เร็วขึ้น
ได้เริ่มต้นศึกษาโน้ตเบรลล์ และได้ฝึกปฏิบัติกับเครื่องดนตรีจริง ด้านความพึงพอใจนักเรียนผู้พิการทางสายตา
มีความเห็นว่าชุดการสอนมีความน่าสนใจจนสามารถบรรเลงได้จบเพลง สื่อที่ใช้ในการสอนคือ บทเพลง, โน้ตเบรลล์,
คีย์บอร์ดมีความเหมาะสม บทเพลงที่ใช้ไม่ยากจนเกินไปและทำนองจำง่าย โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่สามารถบรรเลงได้เร็วกว่านักเรียนชั้นอื่น ระยะเวลาในการสอนมีความเหมาะสม บรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน

Article Details

How to Cite
[1]
พรหมมาศ ส., “การสร้างชุดการสอนเปียโนสำหรับนักเรียนผู้พิการทางสายตา ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 1, pp. 232–240, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)