การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL

Main Article Content

วลัยพร โล่ห์เส็ง

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การ
จัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL ให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เฉลี่ยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) ศึกษาความ
สามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL ให้นักเรียนมี
คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียน 4/1 โรงเรียนคอนสาร
วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน
ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นการทดลองขั้นต้น (Pre-Experimental
Design) แบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบหลังเรียน (One-Shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน เวลา 15 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
เป็นแบบอัตนัย แสดงวิธีทำ จำนวน 5 ข้อ 3) แบบทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบปรนัย
ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 37.85
คิดเป็นร้อยละ 75.70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 31 คน คิดเป็น ร้อยละ 77.50
ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมี
วิจารณญาณเฉลี่ยเท่ากับ 21.95 คิดเป็นร้อยละ 73.17 ของคะแนนเต็มและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน
29 คน คิดเป็นร้อยละ 72.50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
[1]
โล่ห์เส็ง ว., “การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 1, pp. 142–152, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)