การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1

Main Article Content

ยุพิน เซามาไลเนน

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนและ
เพื่อเสนอแนวการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาชัยภูมิ เขต 1 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่หนึ่งเป็นการศึกษาสภาพการพัฒนาครูผู้สอนภาษา
อังกฤษในโรงเรียน โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
ต่างประเทศหรือครูผู้สอนภาษาอังกฤษ แห่งละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 306 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
สำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่สอง เป็นการเสนอแนวทางการบริหาร
จัดการเพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน ด้วยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group) จำนวน 8 คน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการพัฒนาครูผ้สู อนภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
และด้านการบริหารทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการนิเทศการศึกษาและข้อ
เสนอแนะจากคำถามปลายเปิด พบว่า โรงเรียนส่วนมากขาดแคลนงบประมาณและครูผู้สอนภาษาอังกฤษหรือครูต่างชาติ
2. แนวทางในการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ
เขต 1 ซึ่งได้จากการประชุม Focus Group ของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษ
ดังนี้
1) ด้านการบริหารงบประมาณ พบว่า โรงเรียนควรมีการระดมทรัพยากรทางการเงินในการจ้างครูต่างชาติ
เพอื่ จัดการเรียนการสอนแบบหมุนเวียนในกล่มพื้นที่การศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กควรใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
และจัดหางบประมาณเพิ่มเติมจากสถาบันทางการเงิน
2) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พบว่า โรงเรียนควรมีการส่งเสริมครูชาวต่างชาติเข้ารับการอบรมหลักสูตร
ภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพครูและควรเน้นส่งเสริมครูที่ไม่จบเอกภาษาอังกฤษโดยตรงให้ได้รับ
การพัฒนาอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
3) ด้านการบริหารทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ พบว่า โรงเรียนควรมีการสร้างเครือข่าย
จัดหางบประมาณหรือระดมทรัพยากรในการซ่อมบำรุงหรือซื้ออุปกรณ์เทคโนโลยี พัฒนาห้องเรียนภาษาอังกฤษเสมือน
โรงภาพยนตร์เล็กๆ จัดการเรียนการสอนให้ใกล้เคียงกับประสบการณ์จริงและจัดมุมภาษาอังกฤษเพิ่มเติม
4) ด้านการนิเทศการศึกษา พบว่า โรงเรียนควรจะมีการนิเทศแบบกัลยาณมิตร มีทีมงานที่มีประสบการณ์
และมีเทคนิคใหม่ๆ แนะนำเอกสารหรือหนังสือเรียนดีๆหรือสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยให้กับผู้รับการนิเทศ
เพื่อพัฒนาความสามารถด้านจัดการเรียนการสอนและความก้าวหน้าทางวิชาการของครู

Article Details

How to Cite
[1]
เซามาไลเนน ย., “การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 1, pp. 130–141, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)