รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ปริญญา เฉิดจำเริญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นสมรรถนะศึกษานิเทศก์
ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของสมรรถนะศึกษานิเทศก์
ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพล
รวมของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 60 เขต จำนวนศึกษานิเทศก์ 1,058 คน
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวน 924 คน ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้าง
เชิงเส้นสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้แบบสอบถาม
มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ ตัวแปรสังเกตได้ 14 ตัวแปร และ 54 ตัวบ่งชี้ ผลการตรวจสอบความตรง
เชิงโครงสร้างของสมรรถนะศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า
มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาได้จากค่าสถิติและค่าดัชนีที่ผ่านเกณฑ์ดังนี้ ค่าไค-สแควร์ (X2)
มีค่าเท่ากับ 93.45, df =52, p = 0.0037, CFI =0.979, GFI = .985, AGFI = 0.970, RMSEA = 0.030 และ X2/df = 1.797

Article Details

How to Cite
[1]
เฉิดจำเริญ ป., “รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 1, pp. 101–108, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)