การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาไทย ตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางและพหุสัมผัส สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ประภัสสร ทัศนพงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำมาพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะ
การอ่านภาษาไทยตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางและพหุสัมผัส สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับประถมศึกษา (2) พัฒนาหลักสูตรเสริมฯ และศึกษาผลการทดลองใช้ ใน 3 ประเด็นดังนี้
(1) หาประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมฯตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาไทย ระหว่างก่อนเรียน
กับหลังเรียน (3) ศึกษาความคงทนในการอ่านภาษาไทย ประชากรเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านการอ่านชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 ที่ได้รับการคัดแยกโดยใช้แบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(ระดับประถมศึกษา) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายที่ 4 สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 17 โรงเรียน มีทั้งหมด 60 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 4–6 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านวังยาง
(วังยางวิทยานุกูล) ศูนย์เครือข่ายที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2 จำนวน 10 คน
ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากผู้วิจัยปฏิบัติการสอนที่โรงเรียนนี้เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 ชุด และแบบวัดทักษะการอ่านภาษาไทย จำนวน 2 ชุด
สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ The Wilcoxon
Signed Ranks Test


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรเสริมฯในภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.65, S.D.=0.60) เมื่อศึกษาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสำคัญและความจำเป็นของ
หลักสูตรเสริมฯ ด้านองค์ประกอบของหลักสูตรเสริมฯ และด้านกระบวนการของหลักสูตรเสริมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
ทั้ง 3 ด้าน (gif.latex?\bar{X} = 4.77, S.D.=0.48; gif.latex?\bar{X} = 4.54, S.D.=0.72; gif.latex?\bar{X}= 4.64, S.D.=0.60) 2) ได้หลักสูตรเสริมฯ มีลักษณะ
เฉพาะที่พัฒนาขึ้นโดยมีหลักการสำคัญในการพยายามช่วยเหลือแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
ด้านการอ่านให้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลายมีสื่อที่ส่งผลให้เกิดการรับรู้ จดจำและเรียนรู้
สิ่งใหม่ผ่านประสาทสัมผัสหลายทางโดยมีครูทำเป็นสื่อกลางช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะอ่านภาษาไทยที่มีโครงสร้างเนื้อหาที่ถูกออกแบบให้มีความยากง่ายเหมาะสม
กับผู้เรียน คือ พยัญชนะ สระ คำ ประโยคและข้อความสั้นๆ มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 3 ขั้นได้แก่ ขั้นนำ ขั้นสอน
ขั้นสรุปและใช้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงที่สอดคล้องครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนทำการวัดก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมฯ มีดังนี้ (1) หลักสูตรเสริมฯ
มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.33/82.00 (2) นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักเรียนมีความคงทนในทักษะการอ่านภาษาไทย

Article Details

How to Cite
[1]
ทัศนพงศ์ ป., “การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาไทย ตามแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลางและพหุสัมผัส สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับประถมศึกษา”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 1, pp. 81–89, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)