การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนักศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

Main Article Content

ดาวรุวรรณ ถวิลการ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของนักศึกษา
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ในรายวิชาการวิเคราะห์นโยบายและการจัดการศึกษา ดำเนินการวิจัย 2 วงรอบ
ตามขั้นตอนการวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และ การสะท้อนผล (Reflection)
กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยมีกรอบการพัฒนาคือ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ จำนวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ ทักษะเชิงมโนทัศน์
การบริหารการเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ และ การสร้างวัฒนธรรมองค์การใหม่
โดยมีกลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา คือ การสัมมนา การศึกษาเชิงพื้นที่ การอภิปรายเป็นคณะ และการเขียนบทความ
ทางวิชาการ ผลการวิจัยพบว่า
ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 1 โดยใช้กลยุทธ์การสัมมนา การศึกษาเชิงพื้นที่ และ การอภิปรายเป็นคณะ
นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับขอบข่ายของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวิเคราะห์ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของตนเอง
มีความสนใจและให้ความร่วมมือในการสัมมนาเป็นอย่างดี และเห็นความสำคัญของภาวะผู้นำเชิง กลยุทธ์ในการ
พัฒนาการดำเนินการและการบริหารจัดการสถานศึกษา ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา
โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” (X = 3.89) โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุดคือ การสร้างวัฒนธรรม
องค์การใหม่ (X=3.93) ความสามารถในการจัดการเชิงกลยุทธ์ (X = 3.90) วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ (X = 3.89)
ทักษะเชิงมโนทัศน์ (X= 3.88) และการบริหารการเปลี่ยนแปลง (X = 3.88) ตามลำดับ ส่วนการศึกษาเชิงพื้นที่
พัฒนาให้นักศึกษาได้ทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการคิดวิเคราะห์ที่แยบยล มีการวางแผน และการทำงานอย่างเป็นระบบ
โดยนักศึกษาสามารถทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และภายนอก ทั้ง SO Strategies, ST Strategies,
WO Strategies และ WT Strategies และกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
สำหรับการอภิปรายเป็นคณะ ทำให้ได้ฝึกทักษะการคิดและการวางแผนอย่างเป็นระบบ การติดต่อประสานงาน และ
การดำเนินงานที่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาทุกคน ในการวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษาอย่างลึกซึ้งภายใต้
บริบทและข้อมูลเอกสารและการให้ข้อมูลของ ผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูลจากสถานศึกษา ทำให้นักศึกษาฝึกการคิดอย่าง
มีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ สามารถสร้างและเรียนรู้วัฒนธรรมองค์การในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเรียนรู้บทเรียน
แห่งความสำเร็จของการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์


ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 2 การเขียนบทความทางวิชาการทำให้นักศึกษาตกผลึกกระบวนการคิดและ
องค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้และการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สู่การเขียนงานทางวิชาการ สามารถอดบทเรียนจาก
การเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และการปฏิบัติในการจัดทำแผนกลยุทธ์สู่การเขียนบทความวิชาการแล้วนำมา
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อไปได้

Article Details

How to Cite
[1]
ถวิลการ ด., “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนักศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 1, pp. 56–66, Feb. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)