ปัจจัยการสร้างเสริมสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อมาตรฐานสาธารณสุขมูลฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การสร้างเสริมสุขภาพ, มาตรฐาน, สาธารณสุขมูลฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ปัจจัยการสร้างเสริมสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อมาตรฐานสาธารณสุขมูลฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2. รูปแบบปัจจัยการสร้างเสริมสุขภาพมีอิทธิพลต่อมาตรฐานสาธารณสุขมูลฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methods) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากร จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และสถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยใช้การสนทนากลุ่มซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ตัวแทนจาก 1) หน่วยงานราชการ 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3) ประชาชนผู้เป็นหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 18 คน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการสร้างเสริมสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อมาตรฐานสาธารณสุขมูลฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านความเข้มแข็งของชุมชน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์กับมาตรฐานสาธารณสุขมูลฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมในระดับต่ำ (R = .365) ซึ่งสามารถพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานสาธารณสุขมูลฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีโดยรวม ได้อย่างถูกต้องร้อยละ 37.60 (R2 = .376) รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อมาตรฐานสาธารณสุขมูลฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มย่อย มีความเห็นสอดคล้องกันสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ และยังมีความเห็นว่าควรมีปัจจัยเพิ่มเติมอีกจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) ปัจจัยการเมือง 2) ปัจจัยการศึกษา 3) ปัจจัยการสื่อสารและสารสนเทศ และ 4) ปัจจัยส่วนบุคคล