การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้ และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ และระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา และแบบถามสอบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน
________________________
[1]โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์ ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (t - test dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า “PICPIPRE Model” มี 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมพร้อมในการเรียน (Preparation & Infographic : P&I) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice : P) ขั้นนำเสนอผลงาน (Present & Infographic : P&I) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection : R) ขั้นการประเมินผล (Evaluation : E) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า (2.1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1 /E2) เท่ากับ 80.32 / 81.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75 2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2.3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2.4) ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.7198 หมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 71.98 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.