การพัฒนาเกมการเรียนรู้ในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เรื่อง การบอกตำแหน่งทิศทางนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเกมการเรียนรู้ในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เรื่อง การบอกตำแหน่งทิศทาง รายวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตจริง นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสาร วิชาภาษาอังกฤษในชีวิตจริง ของนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบปกติและกลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยเกมการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อเกมการเรียนรู้หลังการสอนด้วยเกมการเรียนรู้เรื่องการบอกตำแหน่งทิศทาง ในรายวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตจริง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย แล้วสุ่มแยกเป็นแบบกลุ่มโดยแบ่งเป็นกลุ่ม Randomization กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือเกมการเรียนรู้ในการส่งเสริมทักษะการสื่อสาร เรื่องการบอกตำแหน่งทิศทาง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการบอกตำแหน่งทิศทาง แบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ โดยสถิติที่ใช้วิจัยครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการทดสอบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ในการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ รายวิชาภาษาอังกฤษในชีวิตจริง เรื่อง การบอกตำแหน่งทิศทางภาษาอังกฤษ นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรชั้นปีที่ 1 โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม คะแนนทดสอบหลังเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนน (X̅=16.8,S.D.=1.72) พบว่ามีค่าสูงกว่าเกณฑ์มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เกมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.43,S.D.=0.19) และมีค่าสถิติ t-test ( t=7.31,Sig.=.00)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ครูบ้านนอกดอทคอม .“หลักการสอนโดย โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange).” https://www.kroobannok.com/createpdf.php?article_id=92, 21 กุมภาพันธ์ 2567
จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. (2541). ความแตกต่างทางเพศในเกมและกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็ก. วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา, 2(1), 79-85
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่ออการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัวทอง พรมโส. (2552). ผลของการใช้เกมที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหินเหิบศิลาทิพย์ จังหวัดของแก่น. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. แขนงวิชาหลักสูตร และการสอน
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรียานุช บัวผัน, และสุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์. (2565). ผลการใช้กิจกรรมเกมกระดานเพื่อส่งเสริม ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พัทธนันท์ อินทสิทธิ์, ฟาริดา เกิดเปลี่ยน, วรวัตร ประสาททอง, และสิรภัทร จันทะมงคล. (2566). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Site เรื่องคำศัพท์งานช่างเฉพาะทาง เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานในงานอุตสาหกรรมของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี.
มณฑาทิพย์ อัตตปัญโญ. (2542). การใช้เกมพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
วิลาวัลย์ อินทร์ชำนาญ. (2561). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประเภทเกม เพื่อให้ความรู้ในเรื่องกฎระเบียบและข้อปฏิบัติในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สิริฐิติ สรหงษ์. (2567). ผังเกมการเรียนรู้เรื่อง การบอกตำแหน่งทิศทาง (Directions) และตัวอย่างการ์ดคำถาม เรื่อง การบอกตำแหน่งทิศทาง (Directions). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี.
สิริวรรณ โพธิ์ทอง, และวนิดา อัญชลีวิทยกุล. (2559). การใช้การสอนแบบการเล่าเรื่องเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
อรทัย ชินาภาษ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.โรงเรียนเมืองเดช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ
Preedakorn, Auttasead. (2014). Design A Boardgame to Study Colour Circle for Students in Grade 6. [Master Thesis, M.Ed. Art Education]. Graduate School, Srinakharinwirot University.
Bloom, B.S. (Ed.). Engelhart, M.D., Furst, E.J., Hill, W.H., & Krathwohl, D.R. (1956). Taxonomy Of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. David McKay Co Inc.
Khammani, T. (2012). Teaching science: knowledge for the learning process effective. (18 ed.). Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Yiemkuntitavorn, S. (2017). English Instruction through Information and communication technologies in 21 century. Journal of Rangsit University Teaching and Learning, 11(1), 123-134. (in Thai)