การผลิตสารคดีโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่อง การทำลูกประคบสมุนไพร

Main Article Content

นภัสสร เอมาวัฒน์
จุฑารัตน์ ทองหล่อ
ทิฐฐาน เนียมชูชื่น
ปริญญา สัญญะเดช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตสารคดีโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่องการทำลูกประคบสมุนไพร และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อสารคดีโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่องการทำลูกประคบสมุนไพร ดำเนินการผลิตสารคดีโทรทัศน์ หลังจากนั้นนำ  สารคดีโทรทัศน์ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเนื้อหา ด้านการดำเนินเรื่องในเชิงสารคดี และด้านการตัดต่อ และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข จากนั้นดำเนินการประเมินความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 100 คน จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางทาโรยามาเน่ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพของการผลิตสารคดีโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่องการทำลูกประคบสมุนไพรโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) = 4.96 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.19 โดยผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า เนื้อหาดี การนำเสนอไม่น่าเบื่อ การตัดต่อกระชับเข้าใจง่าย 2) ผลการประเมินความพึงพอใจหลังการรับชมสื่อสารคดีโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่องการทำลูกประคบสมุนไพรจากกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) = 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.= 0.05

Article Details

How to Cite
เอมาวัฒน์ น., ทองหล่อ จ., เนียมชูชื่น ท., & สัญญะเดช ป. (2023). การผลิตสารคดีโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่อง การทำลูกประคบสมุนไพร. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 5(2), 42–53. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/larts-journal/article/view/264633
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). พืชสมุนไพร ภูมิปัญญาชาวบ้าน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2562). การผลิตสื่อวีดิทัศน์สำหรับงานมัลติมีเดีย (Multimedia Video Production). https://touchpoint.in.th/multimedia-video-production/

กองสวัสดิการสังคม. (2565). ข้อมูลท่องเที่ยว ปีงบประมาณ 2565. องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง.

จิตต์เรขา ทองมณี. (2548). ลูกประคบสมุนไพร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 53(169), 1-3.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2559). หลักการประชาสัมพันธ์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐกานต์ รอดหิรัญ และพนม คลี่ฉายา. (2553). ความรู้ในงานประชาสัมพันธ์และการนำไปใช้เพื่อความสำเร็จทางการตลาด. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 3(4), 141-157 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jprad/article/view/134359/100531

ธีรภาพ โลหิตกุล (2544). กว่าจะเป็นสารคดี. แพรวสำนักพิมพ์.

ธีรยา ชมภูราษฎร์. (2555). สื่อสารคดี เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดความตระหนักถึงการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. วารสารวิจัย ราชภัฏเชียงใหม่. 13(2), 145–154. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/cmruresearch/article/view/96121/75062

นันทวัน บุณยะประภัศร และอรนุช โชคชัยเจริญพร. (2539). สมุนไพร ไม้พื้นบ้าน. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประสาท กิตตะคุปต์. (2565). ภูมิปัญญาชาวบ้านของสมุนไพรไทยและการนําไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์. 4(1), 15-23. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jcra/article/view/255805/174087

พรชัย ฉันต์วิเศษลักษณ์. (2559). การนำเสนอเนื้อหาด้านวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียนในรายการสารคดีโทรทัศน์ไทย. วารสารศาสตร์. 9(1), 33-79. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/220069/152223

พรสุรีย์ วิภาศรีนิมิต. (2552). รู้จักและเข้าใจการผลิตรายการสารคดี. ใน โครงการเติมไฟประกายฝัน (บ.ก.) เพาะพันธุ์สารคดีในจอตู้ (น.8-31). ปิ่นโต พับลิชชิ่ง.

พัฒนา ฉินนะโสต. 2566. รูปแบบการตัดต่อลำดับภาพ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. 10(1), 1-16. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/arts/article/view/264244/178831

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2549). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต และการบริหารภาวะวิกฤต. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วีรศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. (2562). วิชาสารคดี. บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด

สมเจตน์ เมฆพายัพ. (2552). การผลิตรายการโทรทัศน์. ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน.

สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ. (2552). คน ค้น ฅน ทำสารคดีโทรทัศน์. ใน โครงการเติมไฟประกายฝัน (บ.ก.) เพาะพันธุ์สารคดีในจอตู้ (น.42-44). ปิ่นโต พับลิชชิ่ง.

สุภาวดี ตั้งจิตรเจริญ, พนิตสุภา เชื้อชั่ง, ฉวีวรรณ ใจวีระวัฒนา, อรรคเดช อ่อนสอาด, เอื้อมพร สุวรรณไตร, แม้นมาศ วรรณภูม และประวิิทย์์ อััครเสรีนนท์. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลลดอาการปวดกล้ามเนื้อบ่าระหว่างประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรสดกับลูกลูกประคบสมุนไพรแห้ง : การศึกษาวิจัยแบบสุ่ม. เวชบันทึกศิริราช. 15(1), 22-30.

หน่วยแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2565). การนวดประคบสมุนไพร. https://www.rama.mahidol.ac.th/altern_med/th/km/13may2020-1016