ความคิดเห็นและความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อศักยภาพการท่องเที่ยวอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

บุปผชาติ แต่งเกลี้ยง
เย็นจิต นาคพุ่ม
มัลลิกา อินพรหม
ดนวัต สีพุธสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2. เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของนักท่องเที่ยวกับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอำเภอฉวาง โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน โดยกำหนดการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 52 มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จำนวน 275 คน คิดเป็นร้อยละ 68.75 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ส่วนใหญ่มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 35.75 และส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,001 – 15,000 บาท จำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยละ 63.25 ผลจากการศึกษาความคิดเห็นและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อศักยภาพการท่องเที่ยวอำเภอฉวาง พบว่านักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นและความต้องการต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของนักท่องเที่ยวกับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวอำเภอฉวาง พบว่าความต้องการของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ต่อกัน และต้องการของนักท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยวมีอิทธิพลต่อศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวอำเภอฉวางถึง 55.2 % อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ P < 0.05

Article Details

How to Cite
แต่งเกลี้ยง บ., นาคพุ่ม เ., อินพรหม ม., & สีพุธสุข ด. (2022). ความคิดเห็นและความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อศักยภาพการท่องเที่ยวอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 4(2), 34–47. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/larts-journal/article/view/256536
บท
บทความวิจัย

References

กรรวี กันเงิน. (2550). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

การท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

กิตติมา แซ่โห. (2559). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว ภาพลักษณ์คุณภาพบริการ และค่านิยมในการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อทัศนคติการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวไทยทางธรรมชาติ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 11(21), 55-67.

ชวัลนุช อุทยาน. (2561). พฤติกรรมนักทองเที่ยว. สืบค้นจาก http://Touristbehaviour.wordpress.com.

เบญจมาศ ณ ทองแก้ว, อำนาจ รักษาพล, จุฑามาส เพ็งโคนา, และบุญศิลป์ จิตตะประพันธ์. (2560). ศักยภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตำบลคันธุลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(2), 106-121.

พรศิริ บินนาราวี. (2555). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

ธนภูมิ ปองเสงี่ยม และนิรมล จันทร์แย้ม. (2559, มิถุนายน). การศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1 (The 1st RUSNC). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หัสตรา จังหวัดอยุธยา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นำขวัญ วงศ์ประทุม, มุกตา นัยวัฒน์, ขวัญฤทัย ครองยุติ, ดวงศิริ ภูมิวิชชุเวช, พรรณิภา ซาวคำ, และบวรพจน์ หิรัณยรัศมีกุล. (2561). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรหมู่บ้านวาวี จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 132-150.

ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2561). องค์ประกอบการท่องเที่ยวและช่องทางการสื่อสารภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอนาคต กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(1), 79-98.

เสาวคนธ์ ฟรายเก้อ. (2562). แนวทางพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา กลุ่มเขาออกการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ภัทรวดี จินดารักษ์. (2559). การท่องเที่ยวชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่สีเขียว ตำบลบางกระเจ้าและตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

มาศศุภา นิ่มบุญจาชนัก. (2558). การศึกษาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อความยั่งยืนทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเขาสันหนอกวัว (อุทยานแห่งชาติเขาแหลม). (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

รุ่งราตรี อึ้งเจริญ และชวลีย์ ณ ถลาง. (2560). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(1), 133-148.

รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์. (2559). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนจากการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 195-216.

รัตนา อุ่นจันทร์ จารีพร เพชรชิต และสาธิต บัวขาว. (2563). พัฒนาขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวด้านกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอฉวาง และพื้นที่เชื่อมโยงจังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานผลการวิจัย). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (สารนิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อำนาจ รักษาพล, ชลดรงณ์ ทองสง, และเบญจมาศ ณ ทองแก้ว. (2555). การวิจัยเพื่อพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดชุมพรและพื้นที่เชื่อมโยง (รายงานการวิจัย). ชุมพร: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.