ลูกข่างของเล่นของชาวตะวันตก: ประสบการณ์การเล่นและจินตนาการ

Main Article Content

สิทธิศักดิ์ รัตนประภาวรรณ
นันทิยา ณ หนองคาย

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง ลูกข่างของเล่นของชาวตะวันตก: ประสบการณ์การเล่นและจินตนาการ มีเป้าหมายเพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลการเล่นและจินตนาการของชาวตะวันตก และวิเคราะห์แนวคิดของลูกข่างกับการเรียนรู้ มีกระบวนการทำงาน 2 ระยะ คือ ขั้นตอนการเก็บข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  และการเก็บข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ V&A Museum of Childhood, Pollock’s Toy Museum, House on the Hill Toy Museum ณ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ และการประเมินระดับประสบการณ์และจินตนาการ ผู้วิจัยวางแผนและกำหนดขอบเขตการวิจัย โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน หรือจนกว่าจะได้ข้อมูลถึงจุดอิ่มตัว เพื่อบันทึกข้อมูลในเชิงลึกและกลุ่มตัวอย่าง มีประสบการณ์เคยเล่นลูกข่าง จำนวน 100 คน ด้วยเทคนิคการสุ่มอย่างง่าย จากบัญชีสมาชิกจากเฟสบุคส่วนบุคคลและไลน์ จากตารางสำเร็จรูปของทาโร่ยามาเน่ ยอมรับค่าความคลาดเคลื่อน 10 และ เครื่องมือที่ใช้มี 2 กลุ่ม คือ 1) เก็บข้อมูลประสบการณ์และจินตนาการการเล่นลูกข่าง ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์และ เครื่องประประกอบด้วย นักวิจัย และ แบบบันทึกประสบการณ์ การตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) 2) แบบประเมินระดับประสบการณ์และจินตนาการ (แบบประเมินออนไลน์) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยเทคนิคเชิงประจักษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน แล้ววิเคราะห์ระดับประสบการณ์และจินตนาการของการเล่นและจินตนาการ และ สถิติเชิงพรรณา ค่าฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้เล่นลูกข่าง มีค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้ด้านจินตนาการจากการเล่นลูกข่างภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.66, SD=0.28) และมีค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้ด้านจินตนาการจากการเล่นลูกข่างภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.66, SD=0.28)

Article Details

How to Cite
รัตนประภาวรรณ ส., & ณ หนองคาย น. (2021). ลูกข่างของเล่นของชาวตะวันตก: ประสบการณ์การเล่นและจินตนาการ. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 3(2), 119–132. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/larts-journal/article/view/252756
บท
บทความวิจัย

References

การเล่น. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก https://dopah.anamai.moph.go.th/web-upload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/tinymce/KPI2564/KPI107/2564011712.pdf

การเล่นเพื่อพัฒนา. (ม.ป.ป.). สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/aun56141010118/kar-len-pheux-phathna

พิชัย สันตภิรมย์.บทความ. (2557). กำเนิดของเล่น Historical of Toys. สืบค้นจาก http://www.ducatoys.com/article/tag/

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (ม.ป.ป.). พลังของการเล่น. สืบค้นจาก shorturl.at/afuP9

ประยูร สงวนไทร. (2552). ของเล่นกับความทรงจำ Toy and Memories (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรงเทพฯ: แสงดาว.

ปราณี วงษ์เทศ (แปลและเรียบเรียง).2528.ของเล่นของโลก. (แปลจาก The World of Toys, by Robert Culff) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เจ้าพระยา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2560). การเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่เป็นธรรมชาติ. สืบค้นจาก https://www.kidactiveplay.com/content.php?types=learn&cid=272

Deborah. J. (2006). The History of Toys From Spinning Tops to Robots. United Kingdom: Sutton Publishing Limited

Gould. D.W. (1975). THE TOP: THE UNIVERSAL TOY, ENDURING PASTIME. New York: Bailey Brothers & Swinfen.

Sarah. W. (2012). Museum of Childhood A Book of Childhood Things. South Kensington London: V&A Publishing

Toy & Kidmania. (2555). ของเล่น สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการของเด็ก ๆ (ตอนที่ 2) . สืบค้นจาก shorturl.at/rtFMV