การพัฒนาความฉลาด 4 ด้าน ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามร่วมกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เรื่อง การวางแผนครอบครัว ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ลัทธพล คำภิระปาวงศ์
วิชญนาถ เรืองนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามร่วมกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ที่มีต่อ       ความฉลาด 4 ด้าน เรื่อง การวางแผนครอบครัว ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 15 โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ภาคเรียนที่ 2                    ปีการศึกษา 2563  จำนวน 35 คน ได้มาด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาบริหารอารมณ์และครอบครัวศึกษา ที่พัฒนาขึ้นภายใต้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามร่วมกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และ 2) แบบวัดความฉลาด 4 ด้าน เรื่อง การวางแผนครอบครัว ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.35-0.70 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) สถิติพื้นฐาน (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ 2) การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามร่วมกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีค่าเฉลี่ยความฉลาด 4 ด้าน ประกอบด้วย ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา (IQ) ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ความฉลาดด้านการเผชิญกับความยากลำบาก (AQ) และความฉลาดด้านคุณธรรม จริยธรรม (MQ) เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีข้อค้นพบเพิ่มเติมอีกว่า การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามร่วมกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีประสิทธิผลอย่างยิ่งในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และความฉลาดด้านคุณธรรม จริยธรรม (MQ) โดยมีระดับความฉลาดเพิ่มขึ้นหนึ่งระดับ จากระดับพอใช้เป็นสูง และจากสูงเป็นสูงมาก ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
คำภิระปาวงศ์ ล., & เรืองนาค ว. (2021). การพัฒนาความฉลาด 4 ด้าน ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามร่วมกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เรื่อง การวางแผนครอบครัว ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 3(2), 105–118. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/larts-journal/article/view/252260
บท
บทความวิจัย

References

กมลพรรณ ชีวพันธุศรี . (2553). IQ EQ AQ MQ SQ กับสังคมเศรษฐกิจปัจจุบัน. สืบค้นจาก https://www.impressionconsult.com/web/index.php/articles/211-iq-eq-aq-mq-sq.html.

กัญญา สิทธิศุภเศรษฐ์. (2548). ผลการใช้กิจกรรมการตั้งคำถามที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กัลญารัตน์ เทพบุตร สิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา และปริญญา ทองสอน. (2562) การจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ในรายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(1), 41-148.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2558). เทคนิคการใช้คำถาม. ในสารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

กลิ่น สระทองเนียม. (2556). บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยปูรากฐานเด็กไทยสู่อนาคต. สืบค้นจาก https://www.dailynews.co.th/education/050718/.

คู่มือวิทยากรโรงเรียนพ่อแม่สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข" กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2547). การส่งเสริมความฉลาด. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/preamat/kar-sng-serim-khwam-chlad-sahrab-dek-pthmway?fbclid=IwAR2WYTbO5yoXyQi68RjueOZWVFK7pumSoT82qDE2ClHCs2mZS7- VB1uY23g.

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2561). IQ ใช้วัดระดับเชาวน์ปัญญามานานกว่าร้อยปี นี่ยุค 4.0 ต้องวัดกันที่ ‘DQ’ แล้ว. สืบค้นจาก https://www.salika.co/2018/09/17/40-era-iq-dq/.

จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. (2556). สกัดความรู้จากโครงการ “สรอ. ขอความรู้” ทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21.สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/535188.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2549). วิธีวิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.

พิมพร ไตรยานุภาพ. (2552). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้เทคนิคคำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่งนกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สถาบันภาษาลพบุรี. (2561). IQ, EQ, MQ, AQ และ สารพัด Q. สืบค้นจาก https://goodmodo.com/iq-eq-mq-aq-abd-other-q/.

วรัญญา แสงวิเชียร หัสชัย สิทธิรักษ์ และจิต นวนแก้ว (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิจารณญาณ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(1), 55-64.

วรงรอง ศรีศิริรุ่ง และ ดาริกา กูลแก้ว. (2561). องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของวัยรุ่น. วารสารช่อพะยอม, 29(1), 431-440.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). คู่มือวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สุภัสสรา อินทริอุไร. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/647118.

อทิติย์ ชูตระกูลวงศ์ และอลิศรา ชูชาติ. (2557).ศึกษาผลของการเรียนการสอนแบบสืบสอบโดยใช้คำถามตามการจำแนกประเภทวัตถุประสงค์ทางการศึกษาของบลูมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสาน ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(1), 384-398

Coles, R.. (1997). The Moral Intelligence of Children. London: Bloombury.

Ladd, G. T., &Anderson, H. O. (1970). Determining the level of inquiry in teachers’questions. Journal of Research in Science Teaching, 7(4), 395-400.

Paul G., Stoltz, . (2000). Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities. Printed in The United States.