การเมืองท้องถิ่นกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธบนเส้นทางลุ่มน้ำโขงในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระครูสุตสารบัณฑิต (จำนงค์ ผมไผ)
พระครูสังฆรักษ์ยศวีร์ ปมุตฺโต
พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี)
อริย์ธัช เลิศรวมโชค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่ 3 วัตถุประสงค์หลัก คือ (1) วิเคราะห์การจัดการปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในเส้นทางลุ่มน้ำโขง (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นและการท่องเที่ยวเชิงพุทธในพื้นที่ (3) พัฒนาแนวทางกลยุทธ์เพื่อการจัดการท้องถิ่นที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยวเชิงพุทธ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวน 12 ท่าน และจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญอีก 12 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการนำเสนอในเชิงพรรณนา ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณได้ทำการสำรวจนักท่องเที่ยวจำนวน 382 คนจากวัด 5 แห่งในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงฝั่งไทย-ลาว โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงอนุมาน รวมถึงการใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม AMOS


ผลการวิจัยพบว่า


1) การจัดการ ปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในพื้นที่มีปัจจัยสำคัญ 3 ประเภท ได้แก่ ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน และปัจจัยสนับสนุน โดยประกอบด้วย 6 ด้านหลัก คือ 1.1) ความดึงดูดใจของสถานที่ท่องเที่ยว 1.2) สภาพแวดล้อมของสถานที่
1.3) การส่งเสริมการตลาด 1.4) ลักษณะกิจกรรมการท่องเที่ยว 1.5) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว และ 1.6) บริการเสริมในสถานที่ท่องเที่ยว


2) ศักยภาพการส่งเสริมการท่องเที่ยวของวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงมี 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ 2.1) การจัดการสภาพแวดล้อม 2.2) คุณค่าทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่น 2.3) การจัดการสถานที่ และ 2.4) คุณค่าทางประวัติศาสตร์


3) การพัฒนากลยุทธ์การจัดการท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงพุทธประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 10 องค์ประกอบย่อย และ 75 ตัวชี้วัด ซึ่งได้รับการยืนยันผลโดยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2533). การประเมินผลงานการจัดบรรพชาอุปสมบทภาคฤดูร้อน ประจำปี 2533. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2564). ความหมายและความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 11 มกราคม 2566 จาก https://tourismatbuu.wordpress.com

ชมพูนุช จิตติถาวร. (2555). ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการจัดประชุม นิทรรศการ และการทองเที่ยวเพื่อเปนรางวัล. (พิมพครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทวีป สิริรัศมีทวีป ศิริรัศมี และพชรวรรณ สุขหมื่น. (2550). การท่องเที่ยวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน, นนทบุรี: สำนักพิมพ์ พี เอส.พริ้นท์.

นิตยา เพ็ญศิรินภา และสุรชาติ ณ หนองคาย. (2554). พฤติกรรมองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาสน์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2549). การวางแผนพัฒนาการทองเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

บุญเพ็ง สิทธิวงษา,กนกอร บุญมี และ บุญช่วย กิตติวิชญกุล. (2566). การขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs สตาร์ทอัพในการใช้นวัตกรรมแก้จนของประชาชนในพื้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่, 1(5), 1-16.

พระมหาสุทิตย์ อบอุน. (2542). การท่องเที่ยวแนวพุทธ. จุลสารการทองเที่ยว, 18,(2).

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมาานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาฆะ ขิตตะสังคะ และคณะ. (ม.ป.ป.). การศึกษาการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กรณีศึกษาจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

มิศรา สามารถ. (2543). การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันดํารงราชานุภาพ สํานักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. ใน สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2550). มรดกโลก มรดกแห่งมนุษยชาติ. กรุงเทพมหานคร: ปาเจรา.