รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้โครงงานฐานวิจัยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพระปริยัติธรรม

Main Article Content

เนตรนภา นุ่มนวล
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์
ปัญญา เลิศไกร

บทคัดย่อ

 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ และเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้โครงงานฐานวิจัย วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระปริยัติธรรม การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน จำนวน 25 รูป จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และ T-test Dependent ผลการวิจัย พบว่า


  1. 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้โครงงานฐานวิจัย วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 4) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และ 5) เงื่อนไขสำคัญสู่ความสำเร็จ

  2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ 80/87 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 13.63 คะแนน และ หลังเรียน 26.10 คะแนน

  3. นักเรียนมีผลการประเมินความพึงพอใจของต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน โดยการใช้โครงงานฐานวิจัย วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก ( = 4.34)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เด่นพงษ์ สุดภักดี. (2557). นวัตกรรมการเรียนรู้ทักษะเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21. เอกสารสรุปเนื้อหาการสัมมนาวิชาการเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อการวิจัย เสนอที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 21 พฤศจิกายน.

กรวรรณ สืบสม. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. (น.118 -127). สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิชานนท์ ชุมแวงวาปี. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาด้วย วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษา ส 21103. เรียกใช้เมื่อ 2 มกราคม 2567 จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/ viewFile/48473/40272

ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ : หลักการ แนวทาง และวิธีการเรียนการสอนโดยผู้เรียนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพคุรุสภาลาดพร้าว.

นิชาภา บุรีกาญจน์. (2557). การจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มีผลต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่งนภา นุตราวงศ์. (2557). กลับด้านชั้นเรียน (Flip Your Classroom). วารสารวิชาการ, 17, 1, 2-13.

วัฒนา รัตนพรหม. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(2), 37-60.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

ศิริพร มีพรบูชา. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้ระบบห้องเรียนออนไลน์ google Classroom ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์. ใน รายงานวิจัยโรงเรียนบ้านห้วยมงคลอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคืรีขันธ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ แนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพมหานคร: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่นซัพพลายส์.

สุพัตรา อุตมัง, (2558). แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน : ภาพฝันที่เป็นจริงในวิชาภาษาไทย.วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 16(1) เรียกใช้เมื่อ 30 มกราคม 2567, จาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6667

สุภาพร สุดบนิด. (2556). การเปรียบเทียบ ความรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด ห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) และการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบปกติ. เรียกใช้เมื่อ 29 มกราคม 2567, เข้าถึงได้จาก https://edu.msu.ac.th/ncer/fullpaper/paper/ N13.pdf.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 29 มกราคม 2567จาก www.mbuisc.ac.th/phd/academic/flipped% 20classroom2.pdf

อาลาวีย๊ะ สะอะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อิสรา โต๊ะยีโกบ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับการปฏิบัติการวิธีการทางภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9 (1), 109-116.

Jeremy, F. Strayer. (2007). THE EFFECTS OF LEARNING ENVIRONMENT CLASSROOM AND A FLIP CLASSROOM THAT USED AN INTELLIGENT TUTORING SYSTEM. A thsis submitted to the Degree Doctor of Philosophy in the Graduate School of The Ohio State University.

Joyce, B., Weil, M. and Calhoun, E. (2009). Model of Teaching. 8th ed. New York: Allyn & Bacon.

Kevin, K. (2009). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. [Online]. Accessed December 30. Available from http://www.transformativedesigns.com/id_systems.html