รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย

Main Article Content

วันดี ยุโส้
บุรพร กำบุญ
ฐนันวริน โฆษิตคณิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสำนักงานบัญชี ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสำนักงานบัญชี ในประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสำนักงานบัญชี ในประเทศไทย


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจสำนักงานบัญชี จำนวน 1,500 แห่ง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 480 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสำนักงานบัญชี ในประเทศไทย ได้แก่ ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความรู้ คุณภาพของการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี อยู่ในระดับมาก นวัตกรรมความได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของสำนักงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2) การจัดการทรัพยากร การจัดการความรู้ การจัดการนวัตกรรม คุณภาพของการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ความได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสำนักงานบัญชี ในประเทศไทย ซึ่งค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องของโมเดลจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 292.29, df = 181, /df = 1.61, p – value = 0.00000, CFI = 0.994, GFI = 0.908, AGFI = 0.86, SRMR = 0.040, RMSEA = 0.048 และ 3) รูปแบบความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสำนักงานบัญชี มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันกับผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจ ด้วยการทำงานแบบบูรณาการด้านการจัดการทรัพยากร การจัดการความรู้ การจัดการนวัตกรรม คุณภาพของการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นุชจรี พิเชฐกุล. (2555). การรายงานและการวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพมหานคร: ทีพีเอ็นเพรส.

ปาริฉัตร จันโทริ. (2555). การศึกษาระบบทวิภาคี ทางออกของปัญหาแรงงานไทย. วารสารบริหารธุรกิจ โครงการวารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 35(135), 29-39.

พิชิต เทพวรรณ. (2559). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: วี พริ้นท์ (1991).

สภาวิชาชีพบัญชี. (2564, ธันวาคม). ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจะปรับตัวอย่างไรกับค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์.

กระทรวงพาณิชย์, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2566). รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

Barney, J. B. (1991a). The resource-based view of strategy: Origins, implications, and prospects. Journal of Management, 17, 97-221.

Barney, J. B. (1991b). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management, 17(1), 99-120.

Drucker, F. P. (1995). The practice of management. Oxford, England: Butterworth-Heineman.

Drucker, F. P., & Maciariello, J. A. (2004). The daily Drucker. New York: Harper Collins.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Porter, M. E. (1998). The competitive advantage of nation. New York: The Free Press.