การพัฒนารูปแบบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย 3) เพื่อการพัฒนารูปแบบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรคือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย จำนวน 9,481 แห่ง ได้ตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 360 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 15 ท่าน ได้แก่ ผู้ประกอบการด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และเครื่องมือเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสำเร็จในการดำเนินงานการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ได้แก่ ด้านระบบการวางแผนทรัพยากร ด้านผู้ประกอบการ ด้านการสนับสนุนของรัฐบาล ด้านสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ด้านการยอมรับการใช้งานระบบ และด้านความสำเร็จในการดำเนินงาน 2) ด้านระบบ ERP ด้านผู้ประกอบการ ด้านการสนับสนุนของรัฐบาล ด้านสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน ด้านการยอมรับการใช้งานระบบ และด้านความสำเร็จในการดำเนินงาน มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อความสำเร็จในการดำเนินงานการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย ซึ่งค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องของโมเดลจําลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ c2= 104.758, c2/df = 0.873, (df) = 120, Probability level = 838, GFI = 0.914, CFI = 1.000, RMR = 0.018, RMSEA = 0.000 และ 3) ความเป็นไปได้ของรูปแบบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันกับการยอมรับการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์ สําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
Cullen, A.J. and Taylor, M. (2009). Critical success factors for B2B e-commerce use within the UK NHS pharmaceutical supply chain. International Journal of Operations and Production Management, 29(11), 1156-1185.
Esichaikul, V. and Chavananon, S. (2001). Electronic business in developing countries: opportunities and challenges. Proceeding of 14th Bled Electronic Commerce Conference "E-Everything: E-Commerce, E-Government, E-Household, E-Democracy". (pp. 591-615). Bled, Slovenia: Faculty of Organizational Sciences,University of Maribor.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., and Anderson., R.E. (2010). Multivariate data analysis a global perspective. 7th ed. Upper Saddle River, NJ.: Prentice-Hall.
Huang, J., Jiang, X., Lee, J., and Zhao, C. (2005). Exploratory study and empirical study on critical website success factors of Chinese publishing enterprises. International Journal of Management Science, 11(3), 109-124.
Molla, A. and Licker, P.S. (2001). E-commerce system success: an attempt to extend and respecify the DeLone and McLean model of is success. Journal of Electronic Commerce Research, 2(4), 1-11.
Molla, A. (2004). The impact of e-readiness on e-commerce success in developing countries: firm-level evidence. Manchester: Institute for Development Policy and Management, University of Manchester.
Pavlou, P.A. (2003). Consumer acceptance of electronic commerce: integrating trust and risk with the technology acceptance model. International Journal of Electronic Commerce, 7(3), 101-134.
Wixom, B.H. and Todd, P.A. (2005). A theoretical integration of user satisfaction and technology acceptance. Information Systems Research, 16(1), 85-102.