ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ศาลแขวงสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลแขวงสมุทรปราการ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลแขวงสมุทรปราการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลแขวงสมุทรปราการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น โดยใช้การเลือกตามความสะดวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ประชาชนที่มาใช้บริการของศาลแขวงสมุทรปราการ จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าสถิติร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ T-test และ One-Way ANOVA ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคาดหวังของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลแขวงสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลแขวงสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประชาชนที่มี ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลแขวงสมุทรปราการ แตกต่างกัน ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน ประชาชนที่มี เพศ อายุ ต่างกันมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลแขวงสมุทรปราการ ไม่แตกต่างกัน 3) ความคาดหวังของประชาชนมีความสัมพันธ์ในทางบวก กับความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลแขวงสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.