องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

Main Article Content

สัมพันธุ์ จันทร์ดี
ทนง ทองภูเบศร์
สุรกิจ ปรางสร
ทศพล อัครพงษ์ไพบูลย์
ขวัญชนก อายุยืน
ณัฏฐกิตติ์ พาสภาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับการบริหารทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการบริหารทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 150 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA)


ผลการวิจัยพบว่า


1) ด้านระดับการบริหารทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก การบริหารงบประมาณมีค่าสูงสุด รองลงมาคือ การบริหารบุคลากร อาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ การบริหารวัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์ และการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ตามลำดับ และ


2) ด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการบริหารทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญ พิจารณาจากค่า Chi-square = 381.710, df = 245, p = 0.000, CMIN/DF = 1.558, CFI = .955, GFI = .824, AGFI = .790, RMR = .026 และ RMSEA = .061 ต่างก็อยู่ในเกณฑ์ที่แสดงถึงความสอดคล้องของโมเดลการวัดของการบริหารทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่าโมเดลการวัดของการบริหารทรัพยากรการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นไปตามสมมติฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพล พันธ์ภิญญา. (2564). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(2),220-231.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3),783-795.

พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวรรณโณ (เรืองเดช). (2566). การใช้ระบบสื่อสารสารสนเทศพัฒนาการเรียนการสอนของสถานศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสหศาสตร์การพัฒนาสังคม, 1(6), 1-14.

พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวรรณโณ (เรืองเดช), บุญเพ็ง สิทธิวงษา และ กนกอร บุญมี.(2567). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการศึกษาในเขตจังหวัดมหาสารคาม. วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่, 2(1), 1-14.

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19). วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(3), 545-556.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กปี พ.ศ. 2562-2565. กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย.

Byrne, B. M. (2010). Structural Equation Modeling with AMOS: Basic Concepts, Applications, and Programming (2nd ed.). Routledge.

Cronbach, L. J., & Furby, L. (1970). How we should measure" change": Or should we? Psychological bulletin, 74(1), 68.

Goulet-Pelletier, J. C., & Cousineau, D. (2018). A review of effect sizes and their confidence intervals, Part I: The Cohen’sd family. The Quantitative Methods for Psychology, 14(4), 242-265.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Pearson Education Limited.

Kusmaryono, I., Wijayanti, D., & Maharani, H. R. (2022). Number of Response Options, Reliability, Validity, and Potential Bias in the Use of the Likert Scale Education and Social Science Research: A Literature Review. International Journal of Educational Methodology, 8(4), 625-637.

Soper, D.S. (2024). A-priori Sample Size Calculator for Structural Equation Models [Software]. Available from https://www.danielsoper.com/statcalc