บทบาทส่งผ่านของปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนสู่ประสิทธิผล ของการนิเทศการศึกษา

Main Article Content

ทนง ทองภูเบศร์
คัชรินทร์ การพินิจ
สุรกิจ ปรางสร
รัฐจักรพล สามทองก่ำ
ปุญชรัสมิ์ โตสัมพันธ์
กุลพัทธ์ กุลชาติดิลก

บทคัดย่อ

การวิจัยบทบาทส่งผ่านของปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนสู่ประสิทธิผลของการนิเทศการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนสู่ประสิทธิผลของการนิเทศการศึกษา 2) พัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนสู่ประสิทธิผลของการนิเทศการศึกษา และ 3) วิเคราะห์บทบาทส่งผ่านของปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนสู่ประสิทธิผลของการนิเทศการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา จำนวน 156 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงอุปนัย และแปลความหมายบทบาทส่งผ่านของปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนสู่ประสิทธิผลของการนิเทศการศึกษา


ผลการวิจัยพบว่า


1) ด้านปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนสู่ประสิทธิผลของการนิเทศการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


2) ด้านโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนสู่ประสิทธิผลของการนิเทศ โมเดลมีค่า Chi-square (χ²) 206.036, df = 102, p = 0.000, CMIN/DF = 2.020, CFI = 0.954, RMR = 0.018, RMSEA = 0.081 สรุปได้ว่าโมเดลมีความเหมาะสมในระดับดี และ


3) ด้านบทบาทส่งผ่านของปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนสู่ประสิทธิผลของการนิเทศ ปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมประสิทธิผลของการนิเทศการศึกษา โดยมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการปฏิบัติ (ค่าสัมประสิทธิ์ 0.90) และประสิทธิผล (ค่าสัมประสิทธิ์ 0.86) นอกจากนี้ยังมีบทบาทส่งผ่านทางอ้อมผ่านการปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติที่ดี (ค่าสัมประสิทธิ์ 0.78) ช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการนิเทศการศึกษาได้ ปัจจัยสนับสนุนความยั่งยืนช่วยส่งเสริมการปฏิบัติที่ดีและเพิ่มประสิทธิผลของการนิเทศการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2564). การนิเทศการศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิระภา ธรรมนําศีล. (2562). การวางแผนและการประเมินผลการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จิราภรณ์ สีลา. (2563). การนิเทศการศึกษาเชิงพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิพวรรณ ถาวรโชติ. (2564). แนวคิดและทฤษฎีการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุวดี พงษ์สาระนันท์กุล. (2564). แนวทางการนิเทศการศึกษาแบบผสมผสาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brown, J., & Green, M. (2017). Sustaining Effective Educational Supervision. Journal of Education Policy, 34(2), 123-145.

Byrne, B. M. (2010). Structural Equation Modeling with AMOS: Basic Concepts, Applications, and Programming (2nd ed.). Routledge.

Chaiya, J., & Thamrongsotthisakul, W. (2023). Blended Approach to Educational Supervision. Journal of Educational Management, 19(1), 33-45.

Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2018). SuperVision and Instructional Leadership: A Developmental Approach (10th ed.). Pearson.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Pearson.

Hoyle, R. H. (Ed.). (2012). Handbook of Structural Equation Modeling. Guilford Press.

Hu, L. T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1-55.

Jones, A., Smith, J., & Taylor, L. (2019). Support Factors in Educational Supervision. International Journal of Educational Leadership, 11(2), 234-250.

Kline, R. B. (2015). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (4th ed.). Guilford Press.

Lee, K. (2018). Factors Influencing Sustainable Educational Supervision. Journal of Educational Development, 12(3), 456-478.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2016). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling (4th ed.). Routledge.

Smith, J., & Engle, P. (2020). Educational Supervision and Quality Improvement. Education Press.

Soper, D.S. (2024). Sample Size Calculator. [Online software]. Retrieved from https://www.danielsoper.com/statcalc

Taylor, J., & Francis, R. (2022). Effective Educational Supervision. Journal of School Administration, 45(1), 89-102.

Wang, X., Chen, Y., & Zhou, L. (2021). Policy and Strategy Development in Educational Supervision. Educational Research Journal, 27(4), 567-589.