การพัฒนาการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติบัลดริจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติบัลดริจ 2) เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดรวมเพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ที่ซึ่งเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติบัลดริจ ถูกออกแบบมาเพื่อให้องค์กรประเมินตนเองและได้รับข้อมูลย้อนกลับ รวมไปถึงช่วยให้องค์กรมีแนวทางการจัดการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์การมอบคุณค่าที่ดีแก่ผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทำให้คุณภาพการศึกษาสูงขึ้น ตลอดจนการปรับปรุงประสิทธิภาพประสิทธิผลและความสามารถ รวมทั้ง การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคลทั่วทั้งองค์กร ผู้วิจัยพัฒนาการปฏิบัติที่ดีที่สุดและตัวชี้วัดรวมและตัวแปร โดยการสังเคราะห์ค่านิยมหลักและแนวคิดที่เชื่อมโยงกันตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อและพฤติกรรมที่พบในองค์กรที่มีผลการดำเนินงานสูงและเป็นรากฐานในการผสมผสานความต้องการหลักขององค์กรภายใต้กรอบที่เน้นผลลัพธ์อันเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติและการให้ข้อมูลย้อนกลับ บนพื้นฐานแนวคิดการสร้างตัวชี้วัดและการกำหนดกรอบกลุ่มตัวแปรย่อยของ Johnston (1981) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยระเบียบวิธีวิจัยเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน จำนวน 18 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามและการประชุมผู้เชี่ยวชาญกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่า 1) การปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่ความเป็นเลิศจากผู้เชี่ยวชาญ 18 คน สอดคล้องตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติบัลดริจ และ 2) ตัวชี้วัดรวมเพื่อผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ ด้านความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นผู้เรียน และด้านการให้ความสำคัญกับคน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2567). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2567-2570. กรุงเทพมหานคร: บริษัทภาพพิมพ์ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาสน์ จำกัด.
น้ำผึ้ง มีศิล. (2559). การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย : การหลีกเลี่ยงมโนทัศน์ที่ไม่ถูกต้อง. Veridian E-Journal Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 1256-1267.
ระติกรณ์ นิยมะจันทร์. (2548). ปัจจัยของการบริหารจัดการด้วยเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 147-157.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2543). การวิจัยทางการศึกษาปฐมวัยโดยใช้เทคนิควิเคราะห์ : เทคนิค เดลฟาย. วารสารวิทยบริการ, 11(2), 30.-38.
สุบิน ยุระรัช และ ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์. (2562). แนวคิดและแนวทางการทำวิจัยพัฒนาตัวชี้วัดทางการศึกษาและการนำไปใช้ประโยชน์. Humanities, Social Sciences and arts, 12(3), 805-820.
Baldrige National Quality Program: National Institute of Standards and Technology. (2003). 2003 Educational Criteria for Performance Excellence: Baldrige National Quality Program. Gaithersburg: Baldrige National Quality Program.
Johnstone, James N. (1981). Indicators of Education Systems. United Nations Educational Scientific and Cultural Organization and Kogan Page.
Kanpinit, Kachakoch. (2008). Composite Indicators for Educational Quality Management for a Master’s Degree Program in Educational Administration in Private Higher Education Institutions in Thailand. (Doctor of Education Dissertation), Victoria University.
Woodcock, T., Adeleke, Y., Goeschel, C., Pronovost, P., and Dixon-Woods, M. (2020). A modified Delphi study to identify the features of high-quality measurement plans for health care improvement projects. BMC Medical Research Metyhodology, 20 (8), 1-9.