ความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองของประชาชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ทศพร วงษ์มาก
อรนันท์ กลันทปุระ

บทคัดย่อ

ความคาดหวังของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีความเกี่ยวข้องกับปัญหาการพิจารณาคุณสมบัติหรือการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง เพราะความคาดหวังเป็นแรงจูงใจซึ่งนำไปสู่การพิจารณาเลือกนักการเมืองผู้ที่สามารถทำให้ความคาดหวังของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเกิดผลสำเร็จหรือได้รับผลตอบแทนที่ประชาชนต้องการ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนซึ่งมีอายุมากกว่า 18 ปี ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 305 คน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power ในการคำนวณหาขนาดตัวอย่าง กรณีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA)


ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ระดับความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมมีความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองในระดับมากที่สุด (  = 4.28) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองในด้านการปฏิบัติหน้าที่มากที่สุด (  = 4.41) รองลงมา คือ ด้านความรู้ความสามารถ (  = 4.32) และด้านคุณลักษณะส่วนตัวน้อยที่สุด (  = 4.11) ตามลำดับ


ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า การเปรียบเทียบความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ (Sig. = 0.63) อายุ (Sig. = 0.29) ระดับการศึกษา (Sig. = 0.25) อาชีพ (Sig. = 0.75) และรายได้ต่อเดือน (Sig. = 0.46) แตกต่างกัน มีความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองไม่แตกต่างกัน
ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ (p>.05)


จากผลการวิจัย สรุปได้ว่า 1) ระดับความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังที่มีต่อนักการเมืองไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พินิดา ประยูรศิริ. (2541). ภาพลักษณ์ของนักการเมืองกับการยอมรับของประชาชน. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2559). นักการเมืองคือใคร จะควบคุมได้อย่างไร. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/114690

ลิขิต ธีรเวคิน. (2549). คุณสมบัติสำคัญของนักการเมืองที่ดี. เรียกใช้เมื่อ 5 กรกฎาคม 2566 จาก https://mgronline.com/daily/detail/9490000061572

นฤมล นิติยานนท์. (2550). ความคาดหวังของแรงงานต่อบทบาทของนักการเมืองในพื้นที่ : ศึกษาเฉพาะเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. เรียกใช้เมื่อ 5 เมษายน2567 จาก https://www.ect.go.th/ect_th/th/db_119_ect_th_download_14

นพจอม งามมีศรี. (2556). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในอำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยบูรพา

ปัญจพร คาโย เนาวรัตน์ มากพูลผล และรัตนพงศ์ มิวันเปี้ย. (2563). ความคาดหวังของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ที่มีต่อผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ กรณีศึกษา: หมู่บ้านดง จังหวัดแพร่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 32-45.

โสฬส ถนอมวัตร. (2563). ความคาดหวังของประชาชนต่อนักการเมืองท้องถิ่น เทศบาลตำบลบางกะจะ จังหวัดจันทบุรี. ใน การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุดเขต สกุลทอง. (2566). ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นที่มีผลต่อการบริหารแนวใหม่ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย สำนักงานศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, 4(1), 16-29.

นทพงศ์ ตันติยวุฒิ กมลพร กัลยาณมิตร สถิตย์ นิยมญาติ และชูชีพ เบียดนอก. (2567). บทบาทและคุณลักษณะนักการเมืองไทยที่พึงประสงค์ของคนรุ่นใหม่ ในระบอบประชาธิปไตย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(1), 90-114.

อภิเชษฐ์ เลิศนิลกาญจน์. (2561). ความคาดหวังของพนักงานแต่ละเจนเนอเรชั่นต่อบทบาทของสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพ. ใน การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.