กลยุทธ์การจัดการสารสนเทศสู่องค์กรดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกด้านของธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กรแบบเดิม ไม่สามารถตอบสนองต่อรูปแบบการแข่งขัน พฤติกรรมลูกค้า ผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงวิธีการดำเนินงานขององค์กร ปัจจุบันองค์กรต่างๆในประเทศไทย ทั้งองค์กรเอกชน หน่วยงานรัฐบาล กำลังปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ที่ต้องมี สารสนเทศที่ถูกต้อง แม่นยำ เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว นำมาใช้ในการตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที ความพร้อมของบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ ทรัพยากรต่างๆ รวมถึงกระบวนการทำงานที่ลดความซับซ้อนแต่มีประสิทธิภาพมาก การสร้างกลยุทธ์การจัดการสารสนเทศในองค์กรจึงเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างกลยุทธ์การจัดการสารสนเทศสู่องค์กรดิจิทัล ผู้เขียนสืบค้นวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจาก Google Scholar และ Online database โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์เนื้อหา สรุปได้ว่า กลยุทธ์ การจัดการ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 2) การกำหนดกลยุทธ์ 3) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 4) การประเมินผลและการควบคุมกลยุทธ์ การจัดการสารสนเทศสู่องค์กรดิจิทัล มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การกำหนดนโยบาย 2) การวางแผนจัดการข้อมูล 3) การบริหารจัดการกระบวนการในองค์กร 4) การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ 5) การอำนวยการ 6) การบริหารจัดการข้อมูลสู่ขั้นตอนการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ผู้นำองค์กรควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การปฏิบัติงานตามกลยุทธ์การจัดการสารสนเทศภายในองค์กรอย่างใกล้ชิด และติดตามความเคลื่อนไหวภายนอกองค์กร อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นำมาวิเคราะห์เพื่อบริหารจัดการภายในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่องค์กรดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จตุพร เสถียรคง. (2557). กลยุทธ์แห่งความสำเร็จในการบริหารการจัดการภาครัฐของไทย. วารสารวิจัยราชภัฎเชียงใหม่, 15(2), 116-127.
จันจิรา เหลาราช. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จสู่องค์กรดิจิทัล.วารสารสารสนเทศศาสตร์, 39(4), 239-255
จันทกานต์ พันเลียว. (2564). แนวทางการจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรน้ำของชุมชนแบบมีส่วนร่วม อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
แดนไพร สีมาคาม. (2564). กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล. (2564). สังเวชียสถาน : วิสัยทัศน์เพื่อการจัดการองค์กรอย่างยั่งยื่น.วารสารสหวิทยาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 444-457
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธ์. (2566). การวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่องค์กรดิจิทัลกับความท้าทายขององค์กรในยุคดิจิทัล. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง , 12(1), 84-104.
นงค์รักษ์ เคนไชยวงศ์. (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณธกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นฤมล ทัดสา. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
ปภาอร เขียวสีมา และ ลักษิกา สว่างยิ่ง (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยและห้องปฏิบัติการคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา. ใน ค้นคว้าอิสระโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยมหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). แนวคิดและหลักการจัดทำแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.
พิภพ เสวกวรรณ์. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ภูมิภัทร กลางโคตร. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมือ อาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รัชตะ อนวัชกุล และคณะ (2562). การออกแบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริยากร กองทอง. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มุ่งเน้นแนวคิดการทำงานทางสมองด้านการบริหารจัดการ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนา สายเชื้อ. (2561). กลยุทธ์การใช้หลักธรรมาภิบาลในงานวิชาการ ของโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิรัช วิภาวรรณ. (2549). หลักรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ท๊อป.
สมประสงค์ ยะติน (2562).ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของกองบัญชาการกองทัพไทย พื้นที่แจ้งวัฒนะ. วารสารสมาคมนักวิจัย สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(3), 273-289
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
______. (2560). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 2566-2570. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
หวานใจ เวียงยิ่ง (2564). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อาคีรา ราชเวียง และคณะ รูปแบบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมยุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(3), 184-200
Gulick, Luther and Lyndall Urwick. (1973). The Science of Administration. New York : Columbia University.
Henri Fayol. (1964). General and Industrial Management. London : Pittman and Sons.
Mondy, R. W., and Mondy, J.B. (2008). Human Resource Management. New Jerrsey : Pearson Education.
Robbins, S. P. & Coulter, M. (2007). Management. New Jersey : Pearson Prentice Hall.
Taylor Frederick W. (1998). The Principle of Scientific Management. Norcross GA : Engineering and Management Press
Vaz, N. (2021). Digital Business Transformation : How Established Companies Sustain Competitive Advantage From Now to Next. Hoboken, NJ: John
Wheelen and Hunger. (2000). Thorough coverage of topics helps students develop an understanding of the wide. Prentice : Hall.
Zimmermann, A. et al. (2020). Architecting the Digital Transformation: Digital Business, Technology, Decision Support, Management. Manhattan. New York : Springer International Publishing.