คุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

พีรพัฒน์ อภัยกาวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์  2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มาร้องเรียนร้องทุกข์ หรือมาใช้บริการศูนย์ดำรงธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ใช้วิธีการสุ่มแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น แบบเจาะจง และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


 


 


 ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคิดเห็นของประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการศูนย์ดำรงธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อคุณภาพการให้บริการศูนย์ดำรงธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.06) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความเห็นอกเห็นใจต่อผู้มารับบริการ ( = 4.18) รองลงมา คือ ด้านความน่าเชื่อถือในการบริการ ( = 4.12) และด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้มารับบริการ ( = 4.05) ตามลำดับ

  2. คุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
    เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาพรวมทุกด้านไม่มีความแตกต่างกัน

  3. ข้อเสนอแนะของประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการศูนย์ดำรงธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความคิดเห็นว่าควรมีการปรับปรุงป้ายประชาสัมพันธ์ให้สามารถเห็นได้ชัดเจน มีขนาดใหญ่ เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องให้บริการ เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ มีการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วขึ้น และเปิดช่องทางที่หลากหลายให้ประชาชนที่มาใช้บริการได้ถามข้อสงสัย หรือแสดงความคิดเห็นต่อการให้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญชนา ทรัพย์หล่ำ. (2563). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการจังหวัดเพชรบูรณ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กลุ่มยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย. (2567). ประกาศเจตนารมณ์เรื่องสุจริต โปร่งใส มหาดไทยใสสะอาด 2567. เรียกใช้เมื่อ 5 มกราคม 2567 จาก http://std.moi.go.th/

โชคสุข กรกิตติชัย. (2560). ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 256 จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=44991

ธีระพันธ์ สมบูรณ์ และพิชัยรัฐ หมื่นด้วง. (2566). คุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธาน. วารสารปารมิตาศูนย์วิจัยธรรมศึกษาสำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 5(1), 69-81.

นิจปฏิภาณ มาตขาว. (2563). การศึกษาคุณภาพการให้บริการของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดสกลนคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ศักชัย บัวทองจันทร์ และ ชาญยุทธ หาญชนะ (2565). การให้บริการตามบทบาทหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรม อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร. วารสาร Roi Kaensarn Academi, 7(6), 329 340.

ศูนย์ดํารงธรรม กระทรวงมหาดไทย. (2554). คู่มือการดำเนินการแก้ไขปัญหาการร้องทุกข์/ร้องเรียน ศูนย์ดํารงธรรม กระทรวงมหาดไทย. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2567 จากhttps://www.damrongdhama.moi.go.th/home/ebook

สยุมพร กุลสุ , จอมชัย เลิศอมรรัฐ, และอริษา ลิมกิติศุภสิน. (2558). การบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนของศูนย์ดํารงธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารไตรศาสตร์ Three- Science, 1(1), 86 – 95.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A., Berry, L.L. (1988). Servqual: A multiple-item scale for Measuring consumer perceptions of service quality, Journal of Retailing, 64(1), 12-40.