วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางการเมืองในจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาทางการเมืองของนักการเมือง 2) วิเคราะห์วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางการเมืองของนักการเมือง และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี เป็นวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดใช้แนวคิดและทฤษฎีของ สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ; ทินพันธ์ นาคะตะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มีจำนวนทั้งสิ้น 1,288,637 คน นำมาคำนวณขนาด กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเปิดของ เครจซี่ และมอร์แกน ได้จำนวน 400 คน สัมภาษณ์นักการเมือง ผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่เป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการพัฒนาทางการเมืองของนักการเมืองโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า ระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการไม่มีจิตใจเป็นเผด็จการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ และมีเหตุผล อยู่ในระดับปานกลาง 5 ด้าน คือด้านการมองโลกในแง่ดี ด้านความสำนึกในหน้าที่พลเมืองด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ด้านการเคารพกติกาของการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย ด้านการศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย และ อยู่ในระดับน้อย 1 ด้าน ด้านการยึดมั่นหลักความสำคัญและศักดิ์ศรีของบุคคล 2) ผลการวิเคราะห์วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย พบว่า ตัวแปร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเคารพกติกาของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ด้านการมองโลกในแง่ดีส่งผลด้านการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผล และด้านการไม่มีจิตใจเป็นเผด็จการส่งผลต่อการพัฒนา ทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี ได้ร้อยละ 50.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนนทบุรี ต้องดำเนินการส่งเสริมเกี่ยวกับระบบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทางการเมือง ทุกฝ่ายร่วมป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น พัฒนาระบบการเมืองให้มีประสิทธิภาพและประชาชนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ลงคะแนนเสียง แสดงความคิดเห็นในกิจกรรมสาธารณะ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์. (2549). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย : รัฐธรรมนูญที่แท้จริงซึ่งไม่เคยถูกยกเลิก. เรียกใช้เมื่อ 13 มกราคม 2566 จาก http://publiclaw.net/publaw/view.aspx?id=1014.
ทินพันธ์ นาคะตะ. (2541). "นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ของโลก : ปรัชญาและทฤษฎีการเมือง". กรุงเทพมหานคร: โครงการเอกสารและตำรา สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า.
_______. (2546). วิถีชีวิตไทย : วัฒนธรรมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่. กรุงเทพมหานคร: โครงการเอกสารและตำราสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า.
พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส. (2559). ทิศทางระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
_______. (2559). ทิศทางระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ)
ลิขิต ธีระเวคิน. (2527). ทฤษฎีพัฒนาการเมือง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
_______. (2539). การเมืองการปกครองของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
_______. (2550). สภาพัฒนาการเมือง. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 หน้า 5 -17. เรียกใช้เมื่อ 13 เมษายน 2566 จาก http://kpi-lib.com/multim/Journal
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2537). การเมือง : แนวคิดและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: เอส แอนด์ เจ กราฟฟิค.
_______. (2538). วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางในสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
_______. (2539). การเมือง : แนวคิดและการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
_______. (2546). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
_______. (2548). การเมืองการปกครองไทย พ.ศ. 1762 – 2500. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
สำราญ ทองสิงห์คลี. (2555). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของพนักงานส่วนตำบลอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Krejcie R.V., and D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3).