TITLE POLITICAL COMMUNICATION OF LOCAL POLITICIAN AFFECTING LOCAL VOTING RIGHT OF POLICE OFFICERS IN PATHUMTHANI PROVINCE

Main Article Content

Chaiyapong Mathayomnan
Thanakrit Phoengurn
Witthaya Sujarithanarak

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่น 2) วิเคราะห์การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่น 3) เสนอแนวทางการการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของข้าราชการตำรวจในจังหวัดปทุมธานี เป็นวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการตำรวจในจังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 11,797 คน นำมาคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเปิดตารางของ เครจซี่ และ มอร์แกน ได้ จำนวน 317 คน สัมภาษณ์ ผู้กำกับ รองผู้กำกับ สารวัต จำนวน 15 ท่าน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่เป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสัมภาษณ์และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปเนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมก่อนการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านมูลเหตุจูงใจ ในการเลือกตั้งและด้านการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์  การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น พบว่า ตัวแปร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ส่งสาร ด้านสาร ด้านผู้รับสาร และด้านปฏิกิริยา ร่วมกันพยากรณ์ การไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของข้าราชการตำรวจในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 49.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) แนวทางการไปใช้สิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของข้าราชการตำรวจในจังหวัดปทุมธานี ต้องเน้นการสื่อสารเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการพัฒนาระบบการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและสะดวกในการใช้สิทธิ์และจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร


 

Article Details

Section
Research Articles

References

เบญจา มังคละพฤกษ์. (2551). การสื่อสารทางการเมืองของพระสงฆ์ กรณีศึกษา พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) พ.ศ.2544 – 2548. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นภาพร หมื่นจง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง: ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2559. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารการเมือง. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2526). แบบแผนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของชาวกรุงเทพมหานคร : ศึกษาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2526. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก : ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ.2559. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง. มหาวิทยาลัยเกริก.

Krejcie R.V., and D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3).

Lasswell, H. D. (1948). The structure and function of communication in society. In L. Bryson (Ed.), The communication of ideas (pp. 37-51). New York: Harper and Row.