การพัฒนาทุนมนุษย์ภาครัฐไทย กับการจัดการปกครอง สาธารณะแนวใหม่ (NPG)
Main Article Content
บทคัดย่อ
“คน” เปรียบเสมือนเป็น “ทุน” ขององค์การหรือเรียกว่า “ทุนมนุษย์” ซึ่งหมายถึง ทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ รวมถึงประสบการณ์ของแต่ละคนที่สั่งสมอยู่ในตัวเอง และสามารถนำสิ่งเหล่านี้มารวมเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นศักยภาพหรือแรงขับเคลื่อนองค์การที่นำไปสู่ความสำเร็จ
บทความวิชาการเรื่อง “การพัฒนาทุนมนุษย์ภาครัฐไทย กับการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (NPG)” ผู้เขียนได้มุ่งเน้นเสนอสาระแนวคิดในการพัฒนาทุนมนุษย์ภาครัฐของไทย โดยนำมาเชื่อมโยงกับแนวคิดการจัดการสาธารณะแนวใหม่ (NPG) ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ของการบริหารงานภาครัฐในยุคปัจจุบัน ประกอบด้วย ภารกิจในการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ 6 ภารกิจ ได้แก่ 1) การจัดการปกครองโดยการใช้รูปแบบการตลาดหรือกึ่งตลาดในการส่งมอบบริการสาธารณะ 2) การจัดการปกครองรูปแบบบรรษัทภิบาล 3) การจัดการปกครองรูปแบบการจัดการสาธารณะแนวใหม่ 4) การจัดการปกครองโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการที่ดี 5) การจัดการปกครองโดยการเชื่อมโยงระบบสังคม-การเมือง และ 6) การจัดการปกครองรูปแบบเครือข่าย
โดยการพัฒนาทุนมนุษย์ภาครัฐเพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรในภาครัฐ จำเป็นต้องคำนึงถึงกลยุทธ์ในการเลือกทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ ได้แก่ 1) การเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า 2) การเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่หายาก 3) การเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่ลอกเลียนแบบได้ยาก และ 4) การวางระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กันยารัตน์ จันทร์สว่าง และสุภาวดี พรหมบุตร. (2562). ทุนมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลง: กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยาการจัดการ, 6 (2), 209-222.
ดนัย เทียนพุฒ. (2551). บริหารคนในทศวรรษหน้า (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ไททัศน์ มาลา. (2561). การจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance: NPG): แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการจัดการปกครองท้องถิ่น. วารสารวไลยลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8 (1), 179-194.
ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2555). การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน. วารสารนักบริหาร, 32 (4), 103-108.
ปรีดาพร คณทา และดารารัตน์ อินทร์คุ้ม. (2559). ทุนมนุษย์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แนวคิดใหม่. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1 (1), 62-70.
เอลวิส โครตชมพู และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2565). การบริหารทุนมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 7 (1), 1017-1028.
Cheema, G.S. (2005). From Public Administration to Governance: The Paradigm Shift in the Link between Government and Citizens. A paper presented at the 6th Global Forum on Reinventing Government towards Participatory an on Transparent Governance. on 24-27 May 2005, Seoul, Republic of Korea.
Osborne, S.P. (2010). Introduction: The (New) Public Governance: A Suitable Case for Treatment?. In The New Public Governance? : Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Stephen P. Osborne (ed.). London: Routledge.
Pestoff, V. (2010). New Public Governance, Co-production & Third Sector Social
Services. Institute of Civil Society Studies, Ersta Skondal University Collage, Stockholm, Sweden.
Rhodes, R. A. W. (1997). Understanding governance: Policy Networks, Governance, Reflexivity and Accountability. Open University Press, Buckingham.