ประสิทธิผลของเครือข่ายกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ศึกษากรณีเขตพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิผลของเครือข่ายและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร 2) อิทธิพลของโครงสร้างและคุณลักษณะของเครือข่าย การบูรณาการเครือข่าย ความพร้อมด้านทรัพยากร และความมีเสถียรภาพของเครือข่ายที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเครือข่าย 3) อิทธิพลของประสิทธิผลของเครือข่ายที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
วิจัยนี้นี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความแม่นตรงและความเชื่อได้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีจำนวน 435 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และสมการถดถอย และมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน เพื่อเสริมผลวิจัยเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ระดับประสิทธิผลของเครือข่ายและการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยประสิทธิผลของเครือข่ายขึ้นอยู่กับโครงสร้างและคุณลักษณะของเครือข่าย การบูรณาการเครือข่าย ความพร้อมด้านทรัพยากร และความมีเสถียรภาพของเครือข่าย ในส่วนของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การบูรณาการเครือข่ายมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของเครือข่ายสูงสุด รองลงมาได้แก่ ความพร้อมด้านทรัพยากร ความมีเสถียรภาพของเครือข่าย และโครงสร้างและคุณลักษณะของเครือข่าย ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่า ประสิทธิผลของเครือข่ายมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่พบว่า การบูรณาการเครือข่ายช่วยสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีในเครือข่าย ในขณะที่ความพร้อมด้านทรัพยากรมีความสำคัญในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ความมีเสถียรภาพของเครือข่ายส่งเสริมให้กระบวนการทำงานมีความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิตินักท่องเที่ยว. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.
สำนักยุทธศาสตร์. (2565). ข้อมูลเครือข่ายการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์.
Bramwell, B., & Lane, B. (2000). Collaboration and partnerships in tourism planning. In B.
Bramwell, B., & Lane, B. (2011). Critical research on the governance of tourism and sustainability. Journal of Sustainable Tourism, 19(4-5), 411-421.
Brown, R., Smith, J., & Johnson, T. (2021). The role of network effectiveness in promoting sustainable tourism at the local and regional levels. Journal of Sustainable Tourism, 29(4), 567-584.
Burt, R. S. (2017). Network structure and performance. Journal of Tourism Management, 45, 116-130.
Centola, D. (2018). The importance of network relationships for information dissemination and behavior. Journal of Communication, 68(2), 303-322.
Collins, P. (2021). Open data and transparency in decision-making: Key factors for sustainable tourism developmentTourism Management Perspectives, 37, 100779.
Doe, J. (2022). The impact of network effectiveness on sustainable tourism development: A statistical analysis. International Journal of Tourism Research, 24(1), 89-102.
Liu, Y., Chen, Y., & Wang, L. (2019). Network integration, social capital, and innovation: An empirical study in China. Journal of Business Research, 98, 173-183.
Kim, H., Shin, K., & Park, Y. (2018). The effect of network integration on organizational innovation and performance. Journal of Business Research, 88, 348-359.
Tsai, W. (2001). Knowledge transfer in intraorganizational networks: Effects of network position and absorptive capacity on business unit innovation and performance. Academy of Management Journal, 44(5), 996-1004.
Singh, R. P., Gaur, S. S., & Schøtt, T. (2017). Network embeddedness and entrepreneurship performance: Variance across gender. Journal of Business Research, 71, 201-209.
Williams, R., Davis, L., & Martinez, C. (2019). The role of open data and transparent decision-making in sustainable tourism development. Sustainability, 11(9), 2547.