การพัฒนารูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อผลประกอบการจากการใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ แบบน็อคดาวน์ ในประเทศไทย

Main Article Content

ณัฐวุฒิ พิศลพูล
สุชาติ ปรักทยานนท์
บุรพร กำบุญ
ศิรชญาน์ การะเวก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลประกอบการจากการใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์แบบน็อคดาวน์ ในประเทศไทย
2) เพื่อวิเคราะห์ผลประกอบการจากการใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์แบบน็อคดาวน์ ในประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนารูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อผลประกอบการจากการใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์แบบน็อคดาวน์ ในประเทศไทย


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบวิธีผสมผสาน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ
จากประชากรจำนวน 9,093 ราย โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ของแฮร์ และคณะ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการ และผู้บริหาร จำนวน 433 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยโปรแกรมลิสเรล


ผลการวิจัย พบว่า (1) รูปแบบการใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์แบบน็อคดาวน์ ในประเทศไทย ได้แก่ คุณลักษณะของผู้บริหาร สภาพแวดล้อมภายในองค์กร สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร การใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คุณลักษณะของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และผลประกอบการจากการใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (2) คุณลักษณะของผู้บริหาร สภาพแวดล้อมภายในองค์กร สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร การใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คุณลักษณะของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และผลประกอบการจากการใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานธุรกิจของเฟอร์นิเจอร์แบบน็อคดาวน์ ในประเทศไทย ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องของโมเดลจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi-Square = 146.31, df = 133, P-value= 0.20303, CFI = 1.00, GFI = 0.97, AGFI = 0.94, RMSEA = 0.015 และ SRMR = 0.0334 และ (3) ความเป็นไปได้ของรูปแบบการใช้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์แบบน็อคดาวน์ ในประเทศไทย มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย