ปัจจัยที่เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจดิจิทัล จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ณัฐชัย นิ่มนวล

บทคัดย่อ

  บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบเศรษฐกิจชุมชน และความพร้อมของเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจดิจิทัล ในจังหวัดนครสวรรค์                2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจดิจิทัล               ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยคุณภาพและปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่                      1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ใน 15 อำเภอ จำนวน 278 กลุ่ม โดยกำหนดขนาดจากตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน 2) กลุ่มผู้ประกอบการ 3) กลุ่มตัวแทนผู้บริโภคสินค้าขายออนไลน์ และ 4) ผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าถดถอยเชิงพหุ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของเศรษฐกิจชุมชน ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบที่ได้รับสนับสนุนจากภาครัฐ โดยมีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในภาพรวมกลุ่มอาชีพต่างๆ มีความพร้อมในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจดิจิทัล อยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.22) ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่ การสนับสนุนจากภาครัฐ (t = 5.975) ภาคีเครือข่ายทางธุรกิจ (t = 5.942) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและแหล่งทุน (t = 5.614) ความสามารถทางดิจิทัล (t = 4.795) ระบบสนับสนุนการใช้งานทางอิเล็กทรอนิกส์ (t = 4.617) ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ตัว มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจดิจิทัล ส่วนกลยุทธ์และความเป็นผู้นำ มีความสัมพันธ์ใน            เชิงลบกับการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจดิจิทัล (t = -2.987) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์              ร้อยละ 61.5 (R2 = 0.615) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)