การบูรณาการการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพร2) ระดับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพร 3) ปัจจัยการการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาท้องถิ่น 4) สร้างรูปแบบการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพคือการสัมภาษณ์และประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุโดยวิธี Stepwise อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพรโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. การจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชุมพร จำนวน 6 ตัวแปรสามารถอธิบายการพัฒนาท้องถิ่น ได้ร้อยละ 87.50 มีค่า (R2 = .875) ตัวแปรย่อยที่เรียงลำดับการเข้าสู่สมการตามความสัมพันธ์ คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ บริการที่มุ่งผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการการกระจายอำนาจการตัดสินใจ การบริหารแบบร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การมีเป้าหมายและมาตรฐานตัวชี้วัดที่ชัดเจน และการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดังสมการดังต่อไปนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = .339+ .204 X3 + .291X4+ .062X5 +.061X7 +.097X8 + .193X9, สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zr = .364Z4 + .249Z3 + .211Z9 + .144 Z8 +.072Z5+ .070Z7