วิถีธรรม : วิถีถิ่น : วิถีเรือน (Way of Dhamma : way of resident : way of architecture)
Keywords:
Home of heart, Buddhist belief, sacred place, peace, aesthetic mind, เรือนใจ, วิถีคติพุทธ, มณฑลศักดิ์สิทธิ์, สันติสุข, สุนทรียจิต,Abstract
บทความเรื่อง วิถีธรรม วิถีถิ่น วิถีเรือน มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้ภูมิปัญญาของเรือนพื้นถิ่นในการสื่อความหมายของเรือนใจตามวิถีคติพุทธ เป็นเรือนของจิตวิญญาณของผู้อยู่ ที่จัดวางการใช้สอย และรูปแบบของเรือนในวิถีคติพุทธ อันเป็นสถานสัปปายะของวิถีชีวิต และเป็นมณฑลศักดิ์สิทธิ์ทางจิตวิญญาณให้จิตได้สงบระงับและมีสติตื่นรู้สภาวะในปัจจุบัน สอดประสานไปในทิศทางแห่งวิถีแห่งธรรมชาติ วิถีแห่งพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว ที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตวิญญาณสู่ชีวิตที่เบิกบาน สงบเย็น เกิดสันติสุขในใจ ในครอบครัว ในชุมชน เกิดเป็นวิถีของความสมถะ ถ่อมตน และเกื้อกูลต่อทุกสรรพสิ่ง มีสุนทรียจิต มีความงดงาม เพื่อความสมบูรณ์แห่งชีวิต นำไปสู่การรังสรรค์นวัตกรรมการพัฒนาได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน สำหรับสถาปัตยกรรมไทยแห่งยุคสมัย
The purpose of this study: “Way of Dhamma: Way of Resident: Way of Architecture”, is to present how local houses can represent home of heart in Buddhist beliefs. It is the home of the spirit of that who manages it. It is a simple place of life and a sacred place of spirit – for a peaceful mind. It helps raising the consciousness in a natural way – being in harmony with nature: the sun, the moon, and the star. Nature plays an important role in spiritual development as it helps human to have a happy, calm, and peaceful life in every aspect including their life, family, and community. This leads to simplicity, humility, and compassion as well as aesthetic mind and beautiful life, which goes along with the appropriate and sustainable modern Thai architectural innovation.