การใช้งานและการส่องสว่างในพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่ (Uses and Illumination in public spaces in Chiang Mai City)
Keywords:
พื้นที่สาธารณะ, การส่องสว่าง, อาชากรรม, ข่วง, เชียงใหม่, public space, illumination, crime, kuang, Chiang maiAbstract
พื้นที่สาธารณะในเมืองเป็นพื้นที่ที่เกิดกิจกรรมของผู้คนอย่างหลากหลาย โดยเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความมีชีวิตชีวาของเมือง ซึ่ง นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา พื้นที่สาธารณะของเมืองได้มีการประดับประดาด้วยแสงประดิษฐ์ในเวลากลางคืนที่ทำให้เมืองสามารถใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น การส่องสว่างพื้นที่สาธารณะในเวลากลางคืนทำให้เกิดการสอดส่องที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้สามารถระบุถึงคุณลักษณะของสิ่งของได้อย่างถูกต้อง และยังช่วยทำให้ผู้ใช้งานพื้นที่สามารถรับรู้ถึงทิศทาง ตำแหน่งแห่งหนของสถานที่นั้นๆ ได้ อย่างไรก็ตามพื้นที่สาธารณะของเมืองหรือข่วงของเมืองเชียงใหม่มีกำเนิดและหน้าที่ใช้สอยที่แตกต่างกันไป การส่องสว่างตลอดเวลาของพื้นที่อาจส่งผลต่อหน้าที่ใช้สอย เอกลักษณ์ และคุณค่าของพื้นที่สาธารณะ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะทางกายภาพพื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่ตรวจสอบหน้าที่ใช้สอย ตลอดจนศึกษารูปแบบของการส่องสว่างที่ส่งผลต่อการใช้งาน และความสัมพันธ์ของการส่องสว่างกับอรรถประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนและออกแบบเมืองเชียงใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนในเมืองได้อย่างยั่งยืน การศึกษาทำการเก็บข้อมูลภาคสนาม วัดสภาพการส่องสว่างในพื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่ และจัดทำแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่ยังคงแนวคิดประโยชน์ใช้สอยเหมือนเมื่อเริ่มเกิดขึ้นของพื้นที่สาธารณะนั้นแต่บางแห่งปรับเปลี่ยนบทบาทไปตามกลุ่มผู้ใช้งาน และกิจกรรมของย่าน ซึ่งสะท้อนถึงความเปราะบางในการยึดโยงความสัมพันธ์ภายในชุมชน โดยมีแสงประดิษฐ์ในเวลากลางคืนช่วยสร้างบรรยากาศของความปลอดภัยต่ออาชญากรรมในความรู้สึกของประชาชน อีกทั้งแสงสว่างยังทำให้พื้นที่สาธารณะได้แสดงออกถึงตัวตนทางวัฒนธรรม และเอื้อต่อการปรากฏตัวของสถาปัตยกรรมในบริเวณโดยรอบพื้นที่สาธารณะสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวเมือง ดังนั้นแสงสว่างในพื้นที่สาธารณะของเมืองเชียงใหม่จึงตอบสนองความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเชื่อมโยงรากเหง้าของวัฒนธรรมในอดีตกับปัจจุบันไปในขณะเดียวกัน
Urban public spaces are activity places of various people that based importantly to coexistence of society. The existence of urban public spaces has influenced to quality of life and livelihood of the cities. Since 1960s, public spaces have been decorated by artificial lighting at night which prolonged time of urban space usage. Illumination at night of public spaces helps invigilation that increases safety to people. Furthermore, glitter benefits on defining characteristic of objects correctly and guides orientation of places. However, urban public spaces or Kuang of Chiang Mai have origination and function differently. Thus, consistent glitter may effect to public space functions, identity and their values. This study aims to investigate physical characteristics, recheck function and illumination pattern and inspect relationship between illumination and advantage of public spaces in Chiang Mai. The outcome would be benefited to an urban planning and design of Chiang Mai that merge to the needs of residents in sustainable way. Field survey, illuminated measurement and questionnaires are tools in collecting data of this study. The findings reveal that each public space of Chiang Mai still keep original concepts of public spaces. However, there are some places that adapt function be longed to group of users and activities of district. Changing the role of public spaces reflects to delicate relationship within neighborhoods. The results also show that Illumination at night is supported safety atmosphere in opinion of people. In additions, lighting has promoted identifying cultural features of public spaces and turn up of surrounded architectures that make proud to the residents. Finally, luminance at public spaces of Chiang Mai are combined both beneficial of safety and link cultural heritage at the same time.