รูปแบบการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าในประเทศไทย (Specification feature of Ancient City Boundary in Thailand)
Keywords:
ขอบเขตเมืองเก่า, ขอบเขตทางกายภาพ, องค์ประกอบกายภาพ, ancient city boundaries, physical houndaries, physical componentsAbstract
การกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าของประเทศไทยเกิดขึ้นด้วยความตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมและการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดนโยบายด้านการการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าที่เป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าสำหรับใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์และการพัฒนาพื้นที่ในภาคส่วนราชการต่างๆ อย่างเป็นระบบ ดังนั้นวิธีการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าจึงเป็นส่วนที่สำคัญของการพัฒนาในขั้นเริ่มต้นที่ควรมีการศึกษาเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง การศึกษาในครั้งนี้จึงได้มุ่งเน้นเพื่อแสดงถึงวิธีการกำหนดขอบเขตทางกายภาพของพื้นที่เมืองเก่าทั้งในด้านองค์ประกอบทางกายภาพที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตและการเปรียบเทียบลักษณะขององค์ประกอบที่ใช้เป็นรูปแบบในการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าในบริเวณพื้นที่หลักหรือพื้นที่สงวนและพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่ต่อเนื่องของกลุ่มพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 1 จำนวน 10 เมืองเก่า โดยใช้ตารางเปรียบเทียบการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า
ผลการศึกษาพบว่าการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าในพื้นที่หลักหรือพื้นที่สงวนเป็นไปอย่างมีรูปแบบระเบียบ และวิธีการที่ใช้ในการกำหนดพื้นที่อย่างชัดเจนโดยมีสาระสำคัญในด้านความแตกต่างเฉพาะในด้านขนาดของเมือง ในขณะที่พื้นที่ต่อเนื่องมีหลากหลายแบบและมีความแตกต่างในด้านวิธีการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ได้มีแบบแผนที่นำมาใช้เป็นวิธีการกำหนดตั้งแต่แรก แต่เกิดจากการกำหนดขอบเขตพื้นที่ตามสภาพทางกายภาพของเมืองเก่าในพื้นที่จริง
The boundary determination of ancient city areas in Thailand has been made by the awareness of the importance of cultural heritage and urban area development in a country. This contributes to a policy-making in conserving and developing the ancient cities that initiates the ancient city area boundary determination to be applied in planning to systematically conserve and develop many governmental areas. Thus, the determination method of the ancient city plays an important role in an initial development step that should have been deeply researched in order to gain more insight knowledge. The purpose of the study aims at demonstrating the physical boundary defining methods of the ancient city areas in terms of physical components used for determining the boundaries and characteristic comparison of elements used as a model for determining the ancient city area boundaries. The research areas include the main areas or the preserved areas, and the conserved areas or the related areas of the ancient city areas in group 1 including ten ancient cities as a whole. In doing this, the comparison table for the ancient city area boundary was applied. The research study found that the boundary of the ancient city areas in the main areas or the reserved areas has done with patterns, regularities, and clear methods used to determine the areas - with the only essence of the difference in the size of the town, whereas the related areas of ancient cities in group 1 were scoped in many patterns, regularities, and a variety of methods which indicated that there were no patterns used in determining the methods in the first place while the old town areas were physically scoped from the real areas.