การประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานในการเรียนการสอนวิชาออกแบบสถาปัตยกรรม 4 (The Application of Problem-Based Learning for Architectural Design Studio 4)

Authors

  • Manita Cheewakriangkrai Faculty of Fine Arts and Architecture, Rajamangala University of Technology Lanna
  • Pat Sriaroon Faculty of Fine Arts and Architecture, Rajamangala University of Technology Lanna

Keywords:

การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน, การเรียนการสอนวิชาออกแบบสถาปัตยกรรม, การเรียนรู้แบบประเภทอาคารเป็นฐาน, problem based learning, architectural design studio teaching, building type based

Abstract

บทความนี้เป็นการนำเสนอประสบการณ์ของผู้เขียนจากการทดลองใช้การเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นฐานในวิชาออกแบบสถาปัตยกรรม 4 ของนักศึกษาชั้นปีที่สาม สาขาสถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 20 คน บทความประกอบไปด้วย สี่ส่วน คือ ความสำคัญของการใช้แนวคิดแบบปัญหาเป็นฐาน ทบทวนวรรณกรรม กระบวนการในการเรียนการสอน และอภิปรายผลงานของนักศึกษาที่เกิดจาการเรียนการสอนแบบปัญหาเป็นฐาน โดยผลที่เกิดขึ้นพบว่า การเรียนการสอนสถาปัตยกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นทำให้ได้อาคารที่มีประโยชน์ใช้สอยตอบสนองสถานการณ์จำเพาะเจาะจง รวมไปถึงรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบปัญหาเฉพาะ เป็นเครื่องมือในการเรียนสถาปัตยกรรมในแง่การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และความคิดเชิงวิพากษ์แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องการการพัฒนาทั้งในแง่องค์ความรู้ และความพร้อมของตัวผู้สอนและตัวผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบที่ไม่คุ้นเคยด้วย

 

The aim of this article is to describe an experience of problem based learning approach in Architectural Design 4 which is a course for 3rd year students of Faculty of Arts and Architecture, Rajamagala University of Technology Lanna. This article consists of four sections: Including significaner of problem based learning approach in architecture school, literature review, teaching and learning methods and examples of student works. Problem based learning approach could be used as a tool to help students to come up with new programs in architecture and to embraces specific situations. It would be a great tool to enhance creative thinking as well as logical thinking in architecture students as well. However, this discipline needs a huge development in terms of grounded knowledge while instructors and students need to participate in unconventional way of learning.

Downloads

Published

30-06-2016