ความเชื่อกับการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนกะเหรี่ยงในหมู่บ้านพระบาท ห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน (Beliefs and Spatial Organization of Karen Houses in Prabaht-Huaytom Village, Nasai Sub-district, Li District, Lumphun Province)

Authors

  • Kittikul Sirimuangmoon Faculty of Architecture, Chiang Mai University
  • Chaowalid Saicharoent Faculty of Architecture, Chiang Mai University

Keywords:

ความเชื่อ, การจัดระเบียบ, ที่ว่าง, เรือนกะเหรี่ยง, พระบาทห้วยต้ม, beliefs, organization, space, karen houses, Prabaht-huaytom

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาในประเด็นความเชื่อกับการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนกะเหรี่ยงในหมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยงพระบาทห้วยต้ม ศึกษาความเชื่อที่มีผลต่อรูปแบบการจัดระเบียบที่ว่างในระดับหมู่บ้านและเรือน ตลอดจนสามารถอภิปรายถึงการปรับเปลี่ยนของความเชื่อและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะท้อนออกมาในรูปแบบการจัดระเบียบที่ว่างของเรือนพื้นถิ่นชาวกะเหรี่ยงพระบาทห้วยต้ม ผลการวิจัยพบว่าเรือนกะเหรี่ยงแบบดั้งเดิมมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น โดยสะท้อนออกมาสู่รูปทรง ขนาด สัดส่วน พื้นที่ใช้สอยและวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้แฝงด้วยความเชื่อและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง ส่วนความเชื่อที่มีผลต่อรูปแบบการจัดระเบียบที่ว่างในระดับหมู่บ้านคือ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาผู้เผยแผ่พุทธศาสนาให้ชาวกะเหรี่ยงจนพวกเขาเหล่านี้เลื่อมใสศรัทธาจนอพยพติดตามมาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือนด้วย การมีใจบ้านภายในหมู่บ้านเพื่อเป็นที่ประทับของผีเจ้าที่เจ้าทาง ปกป้องชาวบ้านให้อยู่รอดปลอดภัย รวมถึงความเชื่อและภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีความสำคัญกับพื้นที่หมู่บ้านคือ การสืบชะตาขุนห้วย การทำบุญป่า การเลี้ยงผีไร่-ผีนา ส่วนในระดับเรือนยังคงเหลือความเชื่อแบบดั้งเดิมอยู่คือ การทำบุญแม่เตาไฟ การลงเสาเอกบริเวณเกือบกึ่งกลางเรือน ความเชื่อที่มาจากพุทธศาสนาจะเห็นเด่นชัดทุกเรือนคือ การมีหิ้งพระภายในเรือน การหันหน้าเรือนไปทางวัด การหันหัวนอนไปทางทิศตะวันออก นอกจากนั้นกระแสความทันสมัยที่ได้เข้ามาภายในหมู่บ้านเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความเชื่อกับรูปแบบตัวเรือน พื้นที่ใช้สอยภายในเรือนเกิดการเปลี่ยนแปลง

 

This article focuses on beliefs and spatial organization of Karen Houses in Prabaht-Huaytom Village, Nasai Sub-district, Li District, Lumphun Province. The objective is to study the characteristic of vernacular Karen Houses in Prabaht-Huaytom. The spatial organization in village and housing level influenced by local beliefs. As well as the discussion on the change of the villagers’ belief and lifestyle that are manifested in spatial organization of their house. This study found that the traditional Karen House has unique characteristic in their shape, size, proportion, function and construction materials. The belief that affects forms of spatial organizing in the village. The influences of beliefs on village spatial organization are as followed: Kruba Chaiya Wongsa Pattana who brought about Buddhism and was so respected that people moved and established the village ; having “Jai Ban” (house heart / house center) in the village for spirits who protect the village. As well as the original beliefs and wisdoms that concern village space such as life prolonging ceremony for Kun Huay and forest, and the beliefs of agricultural land spirit, The original beliefs involving house space are such as the belief of hearth spirit, and having main pole at the almost center of the house. The beliefs from Buddhism are such as having high shelf for buddist image, house facing toward a temple, beds heading toward the east. In addition, the modernization into the village are reasons for change of housing and living space inside the house. 

Downloads

Published

30-06-2016