การอนุรักษ์และพัฒนาย่านพาณิชยกรรมเก่า ชุมชนบ้านสิงห์ท่า อำเภอเมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร (The Conservation and Development of Old Commercial Area of Ban Singtha, Yasothorn)

Authors

  • Benjorong Toompudcha Faculty of Architecture, Silpakorn University

Keywords:

การอนุรักษ์และพัฒนา, ย่านพาณิชยกรรมเก่า, ชุมชนเก่า, บ้านสิงห์ท่า, conservation and development, old commercial area, old community, Ban Singtha

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทฤษฎี หลักการ และแนวคิดการพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์ เมือง 2) ศึกษาเอกลักษณ์ของชุมชนบ้านสิงห์ท่าในประเด็นทางกายภาพ สังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ 3) เสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนาที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมคุณค่าของย่านพาณิชยกรรมเก่าชุมชน บ้านสิงห์ท่า การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ สังเกต และบันทึกภาพลักษณะทางกายภาพของย่านพาณิชยกรรมเก่าชุมชนบ้านสิงห์ท่าและสภาพแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงการพูดคุยสัมภาษณ์สมาชิกของชุมชน ตลอด จนนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาพบว่าย่าน พาณิชยกรรมเก่าชุมชนบ้านสิงห์ท่ามีการก่อร่างสร้างตัวมาเป็นระยะเวลานานกว่า 200 ปี เคยมีความเจริญ รุ่งเรืองและมีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ซึ่งการเข้ามาอยู่อาศัยของต่างชาติทำให้เกิดการผสมผสานทาง วัฒนธรรม ศิลปะ และสถาปัตยกรรมในย่านพาณิชยกรรมเก่านั้น อาคารส่วนใหญ่ยังคงมีการใช้งานต่อเนื่องมา จนกระทั่งปัจจุบัน มีเพียงอาคารบางกลุ่มที่เก่าและทรุดโทรมซึ่งส่วนมากเป็นอาคารไม้และดินที่ผุพังและได้รื้อสร้างใหม่ในรูปแบบตามยุคสมัยปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการรื้อสร้างใหม่หรือการต่อเติมซ่อมแซมอาคารโดยที่ไม่มี การเสนอแนะและควบคุมให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกับย่านชุมชนเก่านั้นไม่เพียงแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้รูป แบบสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์และทรงคุณค่าสูญสลายไปเท่านั้น หากยังจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพโดยรวมของย่านพาณิชยกรรมเก่าอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าย่านพาณิชยกรรมเก่าบ้านสิงห์ท่ามี สภาพแวดล้อมของชุมชนที่เงียบสงบ ประชาชนมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบสังคมครอบครัว การค้าขายใน ชุมชนมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และผู้คนสามารถสืบต่อเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของย่านจากการบอกเล่าได้ อย่างชัดเจน จากมิติทางกายภาพและมิติทางสังคมของชุมชน ทำให้เป็นพื้นที่แห่งนี้มีเอกลักษณ์มีคุณค่า สมควร อนุรักษ์และพัฒนาให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ โดยการสร้างความ ชัดเจนทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของย่านพาณิชยกรรมเก่าชุมชนบ้านสิงห์ท่า สร้างการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการพัฒนาและการบริหารจัดการ การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำผังแม่บทที่สอดคล้องกับ ภาพลักษณ์และบริบทของชุมชน การบริหารจัดการพื้นที่โดยสำนักงานเทศบาลเมืองยโสธร ต้องสามารถโยง ความสำคัญของพื้นที่สู่แผนพัฒนาอย่างเหมาะสม

 

The present research is mainly aimed 1) to study theories, principles, and concepts relating to urban conservation and development 2) to study the identity of Ban Singtha in terms of physical, social, cultural and historical matters, and 3) to suggest suitable approaches for supporting the value of the old commercial area of Ban Singtha. Methodologically, the study was conducted sequentially. While physical characteristics of the old commercial area of Ban Singtha and its surroundings were observed and recorded, local people and scholars were interviewed. Then, all data were organized and analyzed. The study found that the old commercial area of Ban Singtha was established for more than 200 years. While it had a flourishing trade with foreigners, the integration in terms of culture, art, and architectural styles was quite obvious. Within the old commercial area, although large parts of buildings were still in use, some were deteriorated and rebuilt with contemporary styles. While the proper approach for conservation and development of the old commercial area of Ban Singtha was not available, it seemed that the existing valuable and unique buildings and the overall physical environment of Ban Singtha were unpredictable. The study also indicated that in general, the atmosphere of the community was clam and quiet. While people ways of life tied closely with their families, local trades had gradually transmitted from generation to generation. In addition, people could narrate the history of their community clearly. Thus, according to its physical and social matters, the area was uniquely valuable and truly deserved for further study to determine the appropriate approach for conservation and development. Establishing a clear physical identity in commercial area of Ban Singtha, creating the participation of the community in development and management, improving related laws, built up the master plan is consistent with physical. However town municipality Yasothorn must be able to relate the importance of space to develop property. 

Downloads

Published

30-06-2015