การเปรียบเทียบการรับรู้รูปด้านหน้าอาคารต่างยุคของอาคารชิโน-โปรตุกีส บน ถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต (Comparison of Perception of Façades of Sino-Portuguese Buildings in Difference Ages on Thalang Road, Phuket Province)

Authors

  • Arphaphon Wonglaksanaphan Master of Architecture, Faculty of Architecture, Chiang Mai University

Keywords:

การรับรู้, รูปด้านหน้าอาคาร, องค์ประกอบอาคาร, อาคารชิโน-โปรตุกีส, Perception, Façade, Building Ornament, Sino-Portuguese Buildings

Abstract

อาคารชิโน-โปรตุกีส ประเภทตึกแถวที่ตั้งอยู่บนถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ภายหลังอาคารเหล่านี้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปด้านหน้าอาคารไปจากเดิม ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการประเมินการรับรู้ของคนในท้องที่ เพื่อหาระดับที่ยังคงรับรู้รูปได้ว่าเป็นด้านหน้าอาคารชิโน-โปรตุกีส โดยใช้การเปรียบเทียบอาคารทั้ง 3 ยุค คือ อาคารที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจีน ศิลปะนิโอคลาสสิก และศิลปะอาร์ต-เดโค การทดสอบใช้การลดองค์ประกอบลงทีละขั้น ซึ่งปรับการทดสอบจากแนวคิดของ Trace Measurement โดยแบ่งการรับรู้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับพื้นผิว (texture) ระดับองค์ประกอบ (ornament) และระดับรูปทรง (form) ผลที่ได้พบว่า หากลดทอนเพียงลวดลายปูนปั้น จะทำให้รับรู้ได้ดีที่สุด ในอาคารชิโน-โปรตุกีสที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจีนและศิลปะนิโอคลาสสิก ส่วนอาคาร    ชิโน-โปรตุกีสที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอาร์ตเดโค มีการรับรู้รูปด้านหน้าอาคารได้มากที่สุด เมื่อลดทอนองค์ประกอบเพียง หลังคากันสาด ลวดลายปูนปั้น และเสาประดับ นำไปสู่ข้อเสนอแนะในการใช้องค์ประกอบอาคารที่สอดคล้องกับระดับการรับรู้รูปด้านหน้าอาคาร  ชิโน-โปรตุกีสทั้ง 3 ยุค


This research aimed to study the façades of buildings in Sino-Portuguese styles on Thalang Road, Phuket Province. Sino-Portuguese buildings have identities and historical values that could be proposed into 3 periods, and each period had specific identities. However, some buildings component had changed overtime; others had totally changed their facades. This research used the preference evaluation by local people’s perception. The test was categorized into 3 levels of perception : texture, ornament, and form.   The test used step-by-step deduction of components from a picture, composed of whole components, to ones that composed of forms. This technique was adapted from the concept of Trace Measurement.  The results showed that texture was the most evaluated. In conclusion, Sino-Portuguese influencing Chinese style and neoclassic style had better perception when deduction of components only stucco motifs. And  Sino-Portuguese influencing art deco style had better perception when deduction of components: parapet, stucco motifs and column for decorate. This leads to recommendations and guidelines of what components should be contained and how to use it.


Downloads

Published

30-06-2014