การฟื้นฟูชุมชนตึกแถวร้อยปีสู่อาคารนิทรรศการแห่งใหม่ของพิพิธภัณฑ์ชุมชนเจริญไชย ย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การฟื้นฟูชุมชน , ตึกแถวประวัติศาสตร์ , พิพิธภัณฑ์ชุมชน, ชุมชนเจริญไชยบทคัดย่อ
การเติบโตของเมืองใหญ่ได้นำไปสู่การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ส่งผลให้เกิดการซ้อนทับระหว่างระบบสาธารณูปโภคใหม่และบริบทเมืองเดิมอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินเข้าสู่ย่านเยาวราช ส่งผลให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องถูกเวนคืนพื้นที่บางส่วนของตึกแถวประวัติศาสตร์ชุมชนเจริญไชย ชุมชนเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายจีน ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงให้แก่คนในชุมชน ด้วยเหตุนี้ ชุมชนได้ร่วมมือกันจัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่อง” เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมรวมถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แม้ว่าผ่านพ้นช่วงวิกฤตการณ์มาแล้วนั้น แต่ชุมชนยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอนในอนาคต ประกอบกับพิพิธภัณฑ์มีพื้นที่จำกัดในการจัดแสดงข้อมูลประวัติศาสตร์ และตึกแถวโดยรอบขาดการบำรุงรักษาที่เหมาะสม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูชุมชนเจริญไชย โดยออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน และการวางผังสถาปัตยกรรมสำหรับพิพิธภัณฑ์ชุมชนแห่งใหม่ บนพื้นที่ว่างที่เชื่อมต่อขยายจากพิพิธภัณฑ์เดิม นำไปสู่เกณฑ์ในการออกแบบ ได้แก่ (1) การออกแบบสถาปัตยกรรมใหม่ในพื้นที่ที่มีบริบททางประวัติศาสตร์ (2) การกำหนดรูปทรงทางสถาปัตยกรรม และ (3) การออกแบบพื้นที่จัดแสดงเชิงประสบการณ์ในพื้นที่จำกัด ตลอดจนข้อสรุปการออกแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่สะท้อนการเชื่อมโยงระหว่างปัจจุบันและอดีต ผ่านการแสดงเรื่องราวความทรงจำและอัตลักษณ์ชุมชน เช่น การพับกระดาษไหว้เจ้าและประเพณีไหว้พระจันทร์ โดยรักษาลักษณะเฉพาะของอาคารเก่าและใหม่ การเลือกใช้วัสดุ รูปทรง และสีที่แตกต่างจากบริบททางประวัติศาสตร์ พร้อมการออกแบบนิทรรศการ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชนและการอนุรักษ์อาคารตึกแถวชุมชนเจริญไชย สะท้อนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนชาวจีนเก่าแก่ สืบสานวิถีชีวิตให้ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต
References
Charoen Chai Conservation and Rehabilitation Group. (2013). Barn thuek Charoen Chai: Khon Chin Siam. (In Thai) [Charoen Chai record: Siamese Chinese]. Nakhon Pathom: Printery Co., Ltd.
Chungsiriarak, S., et al. (2011). Raingan karn anurak tuk thao chumchon Charoen Chai. (In Thai) [Conservation report on shophouses in the Charoen Chai community]. Bangkok: n.p.
Department of City Planning and Urban Development. (2013). Phangmueang ruam Krungthepmahanakhon phoso 2556. (In Thai) [Bangkok city plan 2013]. Retrieved August 16, 2024, from https://bmagis.bangkok.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/fdad ae9ef4e54857870ec834d768a9c3.
Harada, T., et al. (2018). Museum experience design based on multi-sensory transformation approach. In Marjanović D. (Ed.). Proceedings of the DESIGN 2018 15th International Design Conference. (pp.2221-2228). Dubrovnik: The Design Society.
Pangkesorn, A. (2012). Khumue karn son karn okbap phainai phiphitthaphan. (In Thai) [Museum interior design teaching manual]. Retrieved January 29, 2024, from https://issuu.com/jew-nathrathanonthongsuthipheerapas/docs/____________.
Pimonsathean, Y. (2009). Arkhan tee mee khunkha kae karn anurak borihan Charoen Krung ton bon. (In Thai) [Buildings worth conserving in the upper Charoen Krung area]. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Co., Ltd.
Pimonsathean, Y. (2013). Karn prabprung fuenfu mueang lae karn anurak mueang. (In Thai) [Urban renewal and conservation]. Bangkok: Thammasat University Press.
Pimonsathean, Y. (2016). Anurak niyakarn: Na Phra Lan, Tha Chang, Tha Tian. (In Thai) [Conservation buildings: Na Phra Lan, Tha Chang, Tha Tian]. N.P.: Rungsilp Printing Co., Ltd.
Srisuwan, C. (2013). Photogrammetry kab ngan anurak sathapattayakam: thuanthon ongkhwamru lae khwam pen pai dai nai karn prayukchai kab ngan sathapattayakam Thai. (In Thai) [Photogrammetry and architectural conservation: a review of knowledge and applicability to Thai architecture]. Nang Chua, 9 (9), 170-171
Tansukanan, P. (2013). Urban conservation: karn anurak chumchon mueang. (In Thai) [Urban Conservation]. Chiang Mai: Maejo University Press.
Urunanont, S. (2023, August 28). Interviews. A member, Charoen Chai Conservation and Rehabilitation Group.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.