ความยืดหยุ่นของมรดกวัฒนธรรม การปรับตัวขององค์ความรู้ “เครื่องเขิน” ชาวไทเขินนันทาราม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเมืองและวิถีชีวิตในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พิชญ์วุฒิ วิรุตมวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สันต์ สุวัจฉราภินันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อัมพิกา ชุมมัธยา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จิรันธนิน กิติกา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรงค์ วงศ์ลังกา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น , มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม , เครื่องเขิน, ไทเขิน , นันทาราม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นการสำรวจการปรับตัวและความยืดหยุ่นของชุมชนเครื่องเขินนันทาราม จังหวัดเชียงใหม่ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการพัฒนาเมือง ด้วยวิธีการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ในสถานที่จริง ทำให้ค้นพบการปรับตัวเชิงนวัตกรรมของการทำเครื่องเขิน การเก็บรักษากระบวนการดั้งเดิมและการพัฒนาเครือข่ายชุมชน โดยผลการศึกษาเผยถึงการปรับเปลี่ยนการมีอยู่ของ “ขุม” สู่การประยุกต์เป็นตู้อบแห้งสมัยใหม่ และบทบาทของเครือข่ายที่ซ่อนตัวอยู่ซึ่งยังคงมีผลต่อการพัฒนาและทำเครื่องเขิน การศึกษายังนำเสนอส่วนของการปรับตัวเพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการตลาด และการใช้งานพื้นที่บ้านเพื่อตอบสนองกับการตอบรับผู้เยี่ยมชมในเชิงการท่องเที่ยวและการศึกษา โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญระหว่างบทบาทของความดั้งเดิมและนวัตกรรมของชาวไทเขินนันทาราม กับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยใหม่ ทั้งในด้านวิถีชีวิต ค่านิยม การท่องเที่ยว และการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ ความยืดหยุ่นของชุมชนนี้สามารถเป็นประโยชน์ต่อรูปแบบการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ ที่ช่างฝีมือในพื้นที่อื่น ๆ กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลก

References

Jaikompan, D. (2023, April 3). Interviews. Lacquerware artist, Nantaram, Chiang Mai.

Kampeera, N. (2015). Kherung kheun attalak tang chart pant Tai Khun chum chon wat Nantaram tumbon Haiya amphoe Muang changwat Chiang Mai. (In Thai) [Lacquerware: Tai Khun ethnic identity Nantaram community Haiya subdistrict, Mueang district, Chiang Mai] (Bachelor’s thesis). Bangkok: Department of Anthropology, Faculty of Archaeology, Silpakorn University.

Khruearaya, T. (2017). Jak rak su krueng khun. (In Thai) [From rak to lacquerware]. The journal of Arts and Culture, Chiang Mai Rajabhat University, 2(2), 15-32.

Khruearaya, T. (2019). Hai lai hai dok theknik ngan khrueangkheun Nantaram changwat Chiang Mai. (In Thai) [Hai lai hai dok techniques of Nantaram lacquerware, Chiang Mai Province]. Journal of Fine Arts, 10(1), 157-182.

Leksomboon, K. (2016). Migration and settlement of Tai Kheun ethnic groups in Thailand. Veridian E-Journal, Silpakorn University, International (Humanities, Social Sciences and Arts), 9(4), 289-299.

Ongsakul, S. (2015). Chumchon chang nai wiang Chiang Mai prawattisat chumchon. (In Thai) [Craftsman community in Wieng Chiang Mai: a community history]. Chiang Mai: Lanna Studies Center.

Ongsakul, S. (2018) Pra wat ti sart Lanna cha bab som boon. (In Thai) [History of Lanna complete edition]. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Phanichphant, V. (2005). Vi thi Lanna. (In Thai) [Lanna’s way of life]. Chiang Mai: Silkworm Books.

Phanichphant, V. (2013). Tai Khoen haeng Chiang Tung. (In Thai) [Tai Khoen of Chiang Tung] Phayao: Lanna Cultural Center (Tai), University of Phayao.

Pattanawan, I. (2009). Kra buan karn plian plang tang sangkom lae wattanatam kong chao Tai Khun nai chum chon Nantaram tumbon Haiya amphoe Muang changwat Chiang Mai. (In Thai) [The process of cultural and social changes of Tai Khun in Nantaram community, Haiya subdistrict, Mueng district, Chiang Mai province] (Master’s thesis). Chiang Mai: Chiang Mai University.

Penth, H. (2004). A brief history of Lanna: Northern Thailand from past to present. Chiang Mai: Silkworm Books.

Phanichphant, V. (2018). Lacquerware in Lanna culture. Chiang Mai: center for the promotion of art culture and creative Lanna, Chiang Mai University.

Sirichanchuen, P. (2023, June 22). Interviews. Lacquerware artist, Nantaram, Chiang Mai.

Sriboonruang, P. (2023, April 3). Interviews, Lacquerware artist, Nantaram, Chiang Mai.

UNESCO. (2003). Convention for the safeguarding of the intangible cultural heritage. Retrieved July 11, 2024, from https://ich.unesco.org/en/convention

UNESCO. (2011). Recommendation on the historic urban landscape. Retrieved July 11, 2024, from https://whc.unesco.org/en/hul/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024