สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กท้องถิ่น: การประเมินหลังการใช้และแนวทางปรับปรุง

ผู้แต่ง

  • ภาวิณี อินชมภู คณะสถาปัยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สรชัย กรณ์เกษม คณะสถาปัยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เจนจิรา ลิมะวิรัชพงษ์ คณะสถาปัยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา , การพัฒนาเด็กปฐมวัย , การออกแบบสนามเด็กเล่น , การเรียนรู้ผ่านการเล่น

บทคัดย่อ

ในปี พ.ศ. 2560 จากเป้าหมายในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 รัฐบาลได้ ให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะช่วงปฐมวัย ซึ่งถือเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญในการวางรากฐานในการ พัฒนาบุคลากรระยะยาว “สนามเด็กเล่น” ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยภายในท้องถิ่น มีพัฒนาการสมบูรณ์ตามวัยครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาผ่านการเล่นสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เด็กปฐมวัย ท้องถิ่นไทยผ่านการเล่น ตามนโยบายริเริ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด แสดงความต้องการเงินสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดสร้างสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ตามแบบฐานการเล่นที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนดเพื่อการพัฒนายกระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) จำนวน 19,429 แห่งทั่วประเทศ คณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาและประเมินการใช้งานสนามเด็กเล่นสร้างปัญญาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) เพื่อศึกษาถึงประโยชน์การใช้งานจริง ปัญหา และแนวทางปรับปรุง ซึ่งพบว่า สนามเด็กเล่นสร้างปัญญามีประโยชน์ต่อการพัฒนาของเด็ก แต่มีปัญหาในด้านการออกแบบ ความปลอดภัย การก่อสร้าง งบประมาณและการดูแลรักษา จึงสมควร มีการพัฒนาแบบมาตรฐานเพื่อการก่อสร้างหลายทางเลือก หรือพัฒนาแบบร่วมกับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณที่พอเพียงทั้งการก่อสร้างและการดูแลรักษา

References

Acar, H. (2014). Learning environments for children in outdoor spaces. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 141, 846-853.

Azlina, W. & Zulkiflee, A.S. (2010). A pilot study: the impact of outdoor play spaces on kindergarten children. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 38(2), 275 – 283.

Bagot, K.L., Allen, F.C.L. & Toukhsati, S. (2015). Perceived restorativeness of children’s school playground environments: nature, playground features and play period experiences. Journal of Environmental Psychology, 41, 1-9.

Consumer Protection Committee. (2018). Khumue sanam dek len plotphai. (In Thai) [Safe playground guide]. Bangkok: Office of the Prime Minister.

Cooper, A. (2015). Nature and the outdoor learning environment: the forgotten resource in early childhood education. International Journal of Early Childhood Environmental Education, 3(1), 85-97.

Department of Local Administration promotion, Ministry of Interior. (2018). Karn khorap karn sanapsanun ngoppraman tam khrongkan songsoem karn rianru dek pathomwai thongthin Thai phan karn len pracham pi ngoppraman phoso 2563. (In Thai) [Request for budget support for the project to promote early childhood learning in local Thais through playing for fiscal year 2020]. Retrieved September 1, 2021 from https://www .dla.go.th/upload/document/type2/2018/12/20921_1_1544517852379.pdf.

Early Childhood Development Policy Committee. (2019). Matratharn sathan phatthana dekpathomwai heangchat kong Thai. (In Thai) [National standard for early childhood care, development and education Thailand]. Bangkok: Ministry of Education.

Kunthorn, D. (2017). Khumue sanamdeklen srang panya. (In Thai) [Guide for wisdom playground]. Retrieved September 1, 2021, from https://www.dla.go.th/servlet/EbookServlet?_mode=read&ebookColum=6059#/page/1

Manager Online. (2022). Mahadthai rap luk sotongo truat sanam dek len sang panya thua prathet chiat opotho sang haeng la saen chet yot koen 400 lan. (In Thai) [State Audit Office of the Kingdom of Thailand (SAO) asked Ministry of Interior to investigate wisdom playgrounds all over the country]. Retrieved October 28, 2022, from https://mgronline.com/politics/detail/9650000103231

Numsuk, W. (2016). Kor phicharana nai karn okbaep sanamdeklen rupbaep thammachat. (In Thai) [Design considerations for natural playground] (Master’s thesis). Bangkok: Chulalongkorn University.

Piaget, J. (1983). Piaget’s theory. In Mussen, P. (ed.) Handbook of child psychology. Vol.1., (pp. 41-102). New York: Wiley.

UNICEF. (2018). Learning though play. New York: the Education Section of UNICEF’s Headquarters Office.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024