การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองจากพื้นที่หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเวียงยอง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ศุภัชญา ปรัชญคุปต์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ศุภณัฐ กาญจนวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การพัฒนาพื้นที่สีเขียว, พื้นที่หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง, สาธารณประโยชน์, ผังชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดทำผังชุมชนเพื่อรักษาพื้นที่สีเขียวในเมือง เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับเมืองในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งอย่างยั่งยืน การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองเพื่อสาธารณประโยชน์ชุมชนเทศบาลตำบลเวียงยอง จังหวัดลำพูน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กระบวนการทำงานนำมาสู่ผังชุมชน เพื่อรักษาพื้นที่สีเขียวในเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาและเน้นการออกแบบพื้นที่สีเขียว เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่สีเขียวเชิงคุณภาพให้เกิดพื้นที่สีเขียวในเมืองอย่างยั่งยืน ผลการวิจัย พบว่า (1) การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ชุมชนมีความต้องการพื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้ตอบสนองเรื่องนันทนาการ แต่พื้นที่สีเขียวต้องให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมได้ (2) การคัดเลือกพื้นที่สีเขียวที่มีศักยภาพในการพัฒนา จากพื้นที่หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ เพราะเป็นแหล่งรวบรวมพื้นที่สีเขียวสาธารณะจำนวนมากและจำเป็นต่อการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวเพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ (3) และการนำมาสู่แนวคิดการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเมืองเป้าหมาย “พื้นที่สีเขียว + น้ำ + คน” โดยผลลัพธ์ที่ได้มาซึ่งผังชุมชนเพื่อรักษาพื้นที่สีเขียวในเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนา เพื่อให้เทศบาลมีพื้นที่สีเขียวสาธารณะในการขับเคลื่อนตามเป้าหมายเชิงปริมาณและคุณภาพ อันประกอบด้วย พื้นที่สีเขียวในหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน 15 พื้นที่ พร้อมเสนอการออกแบบพื้นที่สีเขียวตัวอย่าง ประกอบด้วย 4 พื้นที่ เพื่อช่วยให้ชุมชนได้เห็นภาพที่เป็นรูปธรรมขึ้นและเพื่อให้เทศบาลมีแนวทางในการพัฒนาพื้นที่สีเขียว ในการเชื่อมต่อโครงข่ายพื้นที่สีเขียวในเมืองและเพิ่มพื้นที่สีเขียวสาธารณประโยชน์  ตามแนวคิดการออกแบบพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนที่สามารถสนองประโยชน์ต่อประชากรเมือง และการมีพื้นที่สีเขียวเชิงคุณภาพเพื่อสนับสนุนการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งด้านนันทนาการและการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถสร้างอาชีพหรือรายได้ของชุมชนต่อไป

References

Industrial Estate Authority of Thailand. (2019). Khumue karn truat pramoen phuea haikarnraprong karn pen mueang utsahakam choeng niwet radap eco champion. (In Thai) [Smart eco industrial town]. Bangkok: Author.

Jino,T., et al. (2021). karn phatthana phuen thi satharana phuea soemsang chumchon khemkhaeng: koranee sueksa thetsaban tambon San Pa Pao changwat Chiang Mai. (In Thai) [Public space development for community empowerment : a case study of San Pa Pao, Chiang Mai]. Journal of Environmental Design, 8 (1), 61-77.

Kerdkankaew, S. (2013). Rangwan Asian dan singwaetlom mueang thi yangyuen. (In Thai) [Asean environmentally sustainable cities award]. Bangkok: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning.

Miller, R. W. (2007). Urban forestry: planning and managing urban greenspaces. Illinois:Waveland Press.

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2019). Mattrathan attrasuan phuenthi siKhiao thi mosom samrap chumchon mueang nai prathet Thai. (In Thai). [Guidelines for green area management and green area ratio standards for urban communities in Thailand]. Retrieved January 15, 2021, from http://www.onep.go.th/ebook/eurban/eurban-publication-01.pdf.

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning and Mae Jo University.(2021). Khumue karn prayot chai thankhomun sarasonthet phumisart. (In Thai) [Quantum geographic information system]. Bangkok: Author.

Petri, A., et al. (2016). How green are trees? - using life cycle assessment methods to assess net environmental benefit. Journal of Environmental Horticulture, 34(4), 101–110.

Suteethorn, K. (2022). Khokhit chak karn prachum pa nai mueang : wangphaen pa nai mueang lae saphawa lok ron 2022 kap karn prayuk chai nai khrongkarn pluk tonmai lan ton khong Krungthepmahanakhon. (In Thai) [Key takeaways from urban forests: forest urbanism & global warming conference 2022 and the application to Bangkok’s one million trees project]. Landscape Architecture Journal, 4 (1), 162-177.

Taksayos, N. (2022). Karn phatthana thidin brao fin nai prathet Thai. (In Thai) [Brownfield redevelopment in Thailand]. Landscape Architecture Journal, 4 (1), 26-42.

Uthaisa, V. & Dankittikul, C. (2022). Phuen thi long wang nai khet mueang kao Nakhon Ratchasima lae phuenthi tonueang. (In Thai) [Open space in old town of Nakhon Ratchasima and its adjacent areas]. Landscape Architecture Journal, 4 (1), 43-61

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023