การจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่สำคัญภายในเมืองมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษาชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
คำสำคัญ:
สัณฐานวิทยาเมือง, เมืองมหาวิทยาลัย, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, สเปซซินแทกซ์บทคัดย่อ
เมืองมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางการสร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาเมืองในทุกมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ แหล่งงาน การค้าและบริการ รวมทั้งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยร่วมกันของคนที่มีความหลากหลาย บริบทและองค์ประกอบที่มีอยู่ภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ จึงเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมเมืองที่มีลักษณะเฉพาะให้ชุมชน อันทำให้เกิดเป็นย่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและระบุสัณฐานวิทยาเมืองมหาวิทยาลัย โดยใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) และพื้นที่โดยรอบในรัศมี 3 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ศึกษา และมีการวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพพื้นที่จากการสำรวจ ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์อาคาร โดยแสดงผลด้วยเครื่องมือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และวิเคราะห์โครงข่ายการสัญจรด้วยแบบจำลองเชิงพื้นที่สเปซซินแทกซ์ ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) มีลักษณะสัณฐานวิทยาเมืองแบ่งออกเป็น 4 ย่านที่มีลักษณะเฉพาะ คือ (1) ย่านพื้นที่ศูนย์กลางการศึกษาและวิจัย มีศักยภาพ การเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการให้บริการด้านความรู้ การอบรม และการบริการ ด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (2) ย่านพื้นที่อุตสาหกรรม เป็นย่านที่มีการกระจุกตัวของอาคารประเภทอุตสาหกรรมที่เน้นประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก (3) ย่านพื้นที่ชุมชน มีลักษณะเป็นหมู่บ้านที่ได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวของกรุงเทพมหานครมาสู่ปริมณฑล และ (4) ย่านพื้นที่โล่งเพื่อการเกษตร มีลักษณะเป็นพื้นที่เปิดโล่ง มีความเงียบสงบ และมีความเป็นธรรมชาติ ผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ให้เกิดความยั่งยืน มีความสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ นำไปสู่การจัดการและวางแผนการใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้คนและเมือง
References
Abu-Ghazzeh, T.M. (1999). Communicating behavioral research to campus design: factors affecting the perception and use of outdoor spaces at the University of Jordan. Environment and Behavior journal, 31(6), 764-804.
Boonyachat, S., Chunnasit, B. & Chumjit, S. (2002). Naew tang nai karn kamnot rubbab mueang mahawitthayalai khong prathet Thai (rayathi 1-2). (In Thai) [Guidelines for defining a university city in Thailand (Phases 1-2)]. Bangkok: King Mongkut’s University of Technology Thonburi Press.
Center of Innovative Design and Research. (2019). Rai ngan chabap sombun kongkarn wang phang maebot mahawitthayalai Thammasat 2577. (In Thai) [A final report of Thammasat University master plan 2577]. Pathumthani: Thammasat University Press.
Conzen, M.R.G. (1969). Alnwick, Northumberland: a study in town-plan analysis. Oxford: Alden Press.
Hiller, B. & Hanson, J. (1984). The social logic of space. United Kingdom: Cambridge University Press.
Iamtrakul, P. & Klaylee, J. (2018). Sustaining road safety for campus town development: case study of Thammasat University (Rangsit campus). Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 15(1), 49-68.
Kongphunphin, C., Ruangrattanaumporn, I. & Iamtrakul, P. (2015). Karn phatthana chumchon mahawitthayalai hai kerd khwam plotphai thang thanon yang yangyuen. (In Thai) [Sustainable road safety towards campus town development]. In Thaneerananont, P. (Ed.). Proceeding of karn khonsong haeng chat. (In Thai) [The 10th national transport conference] (pp. 114-124). Bangkok: Siam Printing.
Kongphunphin, C. & Srivanit, M. (2021). Classifying essential morphological characteristics to understanding urbanity in the old town of Chiang Mai. In Kang, T. & Lee, Y. (Ed.). Proceedings of 2021 4th International Conference on Civil Engineering and Architecture (pp.413-423). New York: Springer.
Marcus, C.C. & Francis, C. (1998). People place: design guidelines for urban open space. New York: John Wiley and Sons Press.
Mohammed, A., Ukai, T. & Hal, M. (2022). Towards a sustainable campus-city relationship: a systematic review of the literature. Regional Sustainability, 3(1), 53-67.
Moudon, A.V. (1997). Urban morphology as an emerging interdisciplinary field. Urban Morphology, 1(1), 3–10.
Ojeda, O. & Yudell, M. (1997). Campus and community english dictionary, 1989. Oxford: Oxford University Press.
Phathumtani office of Public Works and Town & Country Planning. (2021). Land use and building use data. PhathumThani: Author.
Rashid, M. (2019). Space syntax: a network-based configurational approach to studying urban morphology. Basel: Birkhäuser Press.
Saengsawang, C. (2009). Rabop sanapsanun phuea karn anurak lae fuenfu mueang. (In Thai) [Support system for urban conservation and rehabilitation]. Academic Journal of Architecture, 2, 141-148.
Sangsehanat, S. (2018). Khrongkan attalak thang santhanwitthaya khong mueang Krungthep. (In Thai) [Morphological identity of Bangkok]. Bangkok: Thailand Research Fund.
Srivanit, M., Kongphunphin, C. & Rinchumphu, D. (2022). Exploring the association of spatial capital and economic diversity in the tourist city of Surat Thani, Thailand. Internationl Journal of Geo-Information, 11(10), 507-524
Ye, Y. & Nes, A.V. (2014). Quantitative tools in urban morphology: combining space syntax, spacematric and mixed-use index in a GIS framework. Urban Morphology, 18(2), 97-118.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.