การศึกษาปัจจัยเรื่องเสียงที่มีผลต่อการออกแบบพื้นที่อรรถบำบัด

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท ชมภูรัตน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

อรรถบำบัด, การออกแบบเชิงพื้นที่, การกันเสียง , วัสดุก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การรักษาอรรถบำบัดเป็นการรักษาความผิดปกติ อันเนื่องมาจากความบกพร่องที่เกี่ยวกับการพูด และการได้ยินเสียง เสียงจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบพื้นที่รักษา ทำให้การออกแบบสถาปัตยกรรม นอกจากการเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานแล้ว จะต้องคำนึงถึงการควบคุมตัวแปรเรื่องเสียงทั้งภายในและภายนอกอาคาร งานวิจัยนี้ จึงมุ่งเน้นการศึกษาปัจจัยก่อให้เกิดเสียงในอาคารที่สามารถกระทบต่อกระบวนการรักษาอรรถบำบัด เพื่อให้สามารถออกแบบพื้นที่รักษาได้อย่างเหมาะสม ผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรเรื่องเสียงที่อาจส่งผลกระทบต่อการรักษาสามารถจำแนกได้ 2 ตัวแปร คือ (1) เสียงจากพื้นที่ภายใน ได้แก่ เสียงจากผู้ใช้งานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษา เสียงจากอุปกรณ์เครื่องใช้ และเสียงจากงานระบบอาคาร และ (2) เสียงจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ เสียงจากบริเวณที่ตั้ง และเสียงจากธรรมชาติ เช่น เสียงฝนตก เป็นต้น ทำให้การออกแบบและระบบการก่อสร้างอาคาร พบว่า ในส่วนของผนังอาคารสามารถเลือกใช้วิธีการก่อสร้างผนังด้วยระบบคอนกรีตเสริมเหล็กได้ โดยวัสดุอิฐมวลเบาสามารถกันเสียงจากภายนอกได้มากที่สุดอยู่ที่ 38-45 เดซิเบล และกรณีวัสดุมุงหลังคา พบว่า ควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุเมทัลชีท แต่หากมีความจำเป็นอันเนื่องมาจากรูปทรงของหลังคา สามารถเลือกใช้เมทัลชีทชนิดมีฉนวนกันเสียงได้ และหากมี
ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ สามารถเลือกใช้วัสดุฉนวนกันความร้อนที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงได้ ซึ่งฉนวนความหนา 3 นิ้ว สามารถลดเสียงได้ 50 เดซิเบล นอกจากนี้ ในงานออกแบบภายใน พบว่า ควรมีการติดตั้งฉนวนกันเสียง เพื่อควบคุมเสียงสะท้อน และเสียงภายนอกอาคาร ซึ่งจะส่งผลทำให้การออกแบบพื้นที่รักษาอรรถบำบัดสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and statistical manual of mental disorders. Washington, D.C: Author.

American Speech-Language-Hearing Association. (2002) Appropriate school facilities for students with speech-language-hearing disorders. Retrieved April 24, 2022, from https://www.asha.org/policy/tr2002-00236/#sec1.5.5

Chinchai, S. (2020, March 24). Interview. Associate Professor, Faculty of Associated Medical Sciences, Chiang Mai University.

Kaewsuwan, B. (2000). Naewkid nai karn fuenfu samatthaphap thang karn phaet nai prathet Thai. (In Thai) [Concept for development of medical rehabilitation in Thailand]. Journal of Associated Medical Sciences Faculty of Associated Medical Sciences, 33(2), 111-123.

Lanna Rice Research Center, Chiang Mai University. (2020). Buiding plan. Chiang Mai: Author.

Limsila, P. (2002). Or thit suem nai prathet Thai: chak tamra su prasopkarn. (In thai) [Autism in Thailand: from textbook to practice]. Proceeding of Khru mor phomae: miti haeng karn pattana sakkayaphab bukkhon autistic. (In Thai) [Teacher doctor parent: potential development for people with autistic] (pp.9-11). Bangkok: Kasetsart University.

Department of Rehabilitation Medicine, Mahidol University. (2017). Panha thang karn phut lae karn sue khwammai nai phupuai rok lot lueat samong. (In thai) [Communication problems in stroke patients]. Retrieved April 24, 2022, from https://www.sirirajstrokecenter.org/wp-content/uploads/2018/06/15.pdf?fbclid=IwAR0AVnTq86PjonFV6eYxuReWhr_05f5H5Y2U-KzvZ6hz2KnYe0_PZMGkCp4

Neurological Institute of Thailand. (2007). Neawtang karn fuenfu samatthaphap phupuai rok lot lueat samong. (In thai) [Clinical practice guidelines for stroke rehabilitation]. Nonthaburi: Author

Rajanagarindra Institute of Child Develop. (2017). At ta bambat. (In Thai) [Speech thearapy]. Retrieved April 24, 2022, from https://ricd.go.th/webth1/งานอรรถบำบัด/

Siam Cement Group. (2020). Phalittaphan watsadu acoustic scg Cylence Zandera. (In thai) [Product-Acoustic Cylence Zandera]. Retrieved May 5, 2022, from https://www.scgbuildingmaterials.com/th/products/วัสดุอะคูสติก-เอสซีจี-รุ่น-Cylence-Zandera-แผ่นมาตรฐาน-สีน้ำตาลเข้ม-0-10-x-0-60-m-/8852424145629#

Sirindhorn National Medical Rehabilitation Institute. (2015). Karn dulae phupuai lae khon phikarn thang karn daiyin lae sue khwammai. (In Thai) [Care for patients with a hearing impairment and communication disorder]. Nonthaburi: Author.

Thai Red Cross Rehabilitation Center. (n.d.). At ta bambat. (In Thai) [Speech therapy]. Retrieved May 5, 2022 , from https://rehab.redcross.or.th/หน่วยงาน/งานอรรถบำบัด/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022