การสำรวจคุณภาพแสงสว่างและความต้องการปรับปรุง ในพื้นที่ผู้ป่วยนอกศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุมาวลี จินดาพล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คุณภาพแสงสว่าง, ความต้องการปรับปรุง, พื้นที่ผู้ป่วยนอก, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการสำรวจ ประเมินผลหลังการใช้งานด้านคุณภาพแสงสว่างและความต้องการปรับปรุงในพื้นที่ผู้ป่วยนอกศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลค่าความส่องสว่างขณะใช้แบบสอบถามความต้องการปรับปรุงพื้นที่จากกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ จำนวน 200 คน สำรวจในพื้นที่ส่วนกลางจำนวน 5 พื้นที่ ได้แก่ จุดประชาสัมพันธ์และนัดหมาย จุดคัดกรอง โถงการเงินและยา โถงลิฟต์โดยสารและโถงทางเดิน และสำรวจในพื้นที่แผนกให้บริการตรวจรักษาจำนวน 5 แผนก ได้แก่ แผนกจักษุ แผนกหู คอ จมูก แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ แผนกอายุรกรรม และคลินิกสุขภาพและความงาม มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัญหาด้านแสงสว่างและความต้องการในการปรับปรุงพื้นที่ของผู้ใช้งาน ผลการสำรวจสรุปได้ว่าพื้นที่ส่วนกลางมีค่าความส่องสว่างผ่านเกณฑ์ ในขณะที่พื้นที่ตรวจในแต่ละแผนกส่วนใหญ่มีค่าความส่องสว่างต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งตามทฤษฎีอาจทำให้เกิดความผิดพลาดจากการทำงานได้ แม้ว่าผู้ให้บริการจะปฏิเสธว่ามีความผิดพลาดในการทำงานเนื่องจากประเด็นเกี่ยวกับแสงสว่าง แต่ก็ยอมรับว่าหากระบบแสงสว่างได้รับการปรับปรุงจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นได้ และผู้ใช้พื้นที่มีความต้องการปรับปรุงเรื่องระดับความส่องสว่างเป็นอันดับแรก เรื่องความสม่ำเสมอของแสงเป็นอันดับที่สอง และเรื่องแสงแดดที่ส่องจากหน้าต่างเป็นอันดับที่ 3

References

Aarts, M. & Kort, H. (2017). Lighting conditions in hospital medication rooms and nurses appraisal. Proceeding of Healthy Buildings 2017 Europe. Dublin, Lublin University of Technology.

Andrade, C. C. & Devlin, S. A. (2015). Stress reduction in the hospital room: Applying Ulrich’s theoru of supportive design. Journal of Environmental Psychology, 41 (2015), 125-134.

Bates, W. D. (2000). Using information technology to reduce rates of medication errors in hospitals. British Medical Journal, 320 (7237), 788-791. DOI: 10.1136/bmj.320.7237.788

Dalke, H., et al. (2006). Colour and lighting in hospital design. Optics & Laser Technology, 38 (4-6), 343-365.

Illuminating Engineering Association of Thailand. (2017). Khumue neawtang karn oakbab karn song sawang phainai arkhan. (In Thai). [Guidelines for indoor lighting design]. Bangkok: Author.

Kamali, J. N. & Abbas, Y. M. (2012). Healing environment: enhancing nurses’ performance through proper lighting design. Procedia- Social and Behavioral Sciences, 35, 205-212.

Ministry of Labour. (2016). Ratchakitchanubeksa kot krasuang kamnot mattrathan nai karn borihan chatkarn lae damnoen karn dan kwam plotphai a chiwa anamai lae saphabwaetlom nai karn thamngan kiaokap kwam ron saengsawang lae siang B.E. 2559. (In Thai) [Protocol of control and management for occupational health, safety and environment relating to heating, lighting and sound]. (2016, 17 December). Royal Thai Government Gazette. Rule Number 133 section number 91 ก. pp. 48-54.

Osiri, P. (2019). Wikhro kotmai singwaetlom nai karn thamngan rueang saengsawang lae siang.

(In Thai). [Analysis of work environment regulations on illumination and noise]. Public Health & Health Laws Journal, 5 (2), 151-164.

Pongyen, N. & Waroonkul, T. (2014). Neawtang karn prubprung patjai tang dan singwaetlom nai rongphayaban chumchon phuea phoem kwam phuengphochai. (In Thai). (Design guidelines for improving outpatient building of a community hospital in order to increase satisfaction). Journal of Environment Design, 1 (2), 49-62.

Tuaycharoen, N., Kornisranukul, W. & Namanee, S. (2016). Itthiphon khong saengsawang phainai arkhan tor karn monghen khong phu sung-ayu chao Thai. (In Thai). [The effect of interior lighting on visibility of Thai elderly]. Academic Journal of Architecture, 65, 55-74.

Waroonkul, T. (2018). The environmental factors affecting service satisfaction of community hospital. Journal of Design and Built Environment, 18 (1), 19-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-07-2020