Perspective drawing evolution and the quality of conceptual design communication

Authors

  • อรรณพ พลชนะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

perspective drawing, design concept, interior architecture, design, design communication

Abstract

งานเขียนทัศนียภาพมีความเป็นรูปธรรมสูงจึงง่ายในการทำความเข้าใจสามารถประเมินระดับความพึงพอใจโดยใช้ประสบการณ์เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลได้ ดังนั้น ในการสื่อสารแนวความคิดในการออกแบบของสถาปนิกจึงมักใช้ภาพเขียนทัศนียภาพเป็นเครื่องมือลำดับแรกๆ ในการสื่อสารกับบุคคลทั่วไป บทความนี้ทำการศึกษาเฉพาะงานเขียนทัศนียภาพภายในอาคาร โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประเด็นคือ 1) วิเคราะห์รูปแบบภาพเขียนทัศนียภาพงานสถาปัตยกรรมภายในช่วงปี พ.ศ.2530-2560 2) วิธีการสื่อสารแนวคิดงานออกแบบของสถาปนิก 3) เปรียบเทียบรูปแบบภาพเขียนทัศนียภาพในด้านประสิทธิภาพการสื่อสารแนวคิด เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงทำการทบทวนวรรณกรรรมเป็นขั้นตอนแรกในส่วนการสื่อสารแนวความคิดในการออกแบบโครงสร้างของภาพเขียนทัศนียภาพ และประเภทของภาพเขียนทัศนียภาพเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดประเด็นในการวิเคราะห์ภาพเขียนทัศนียภาพ ในขั้นตอนที่สองทำการรวบรวมภาพเขียนทัศนียภาพตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2530-2560 นำมาจัดกลุ่มภาพเขียนทัศนียภาพตามช่วงยุคสมัยเป็น 3 ช่วงคือ 1) ภาพเขียนทัศนียภาพช่วง พ.ศ. 2530- 2540 2) ภาพเขียนทัศนียภาพช่วง พ.ศ. 2541-2550 3) ภาพเขียนทัศนียภาพช่วง พ.ศ. 2551-2560 แล้วคัดเลือกภาพเขียนทัศนียภาพแบบตามสะดวกยุคสมัยละสี่ภาพทำการศึกษาใน 4 ประเด็นคือ 1) ลักษณะโครงสร้างการเขียนภาพ (เส้นระดับสายตา จุดรวมสายตา) 2) ประเภทภาพเขียน (แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ/แบ่งตามอุปกรณ์ในการเขียน) 3) ขั้นตอนการเขียน 4) ช่วงเวลาการนำไปใช้ จนเกิดเป็นผลการศึกษาให้เห็นลำดับขั้นของพัฒนาการงานเขียนทัศนียภาพในรอบ 3 ทศวรรษ (ในประเด็นของโครงสร้างภาพ/ประเภท/ขั้นตอน/ช่วงเวลาการนำไปใช้) วิธีการสื่อสารแนวคิดงานออกแบบของสถาปนิก และรูปแบบภาพเขียนทัศนียภาพกับคุณภาพในการสื่อสารแนวคิด

References

Bejrananda, J. (1999). Karntham raila-iad prakob khongkran oakbab sathapattayakam. (In Thai) [Interior architecture programming]. Bangkok: King Monkut’s Institute of Technology Ladkrabang Press.

Cheyjunya, P. (1991). Naewkid lak nithetsat. (In Thai) [Concept in communication art]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Cheng Chung Design. (1998). Project interior perspective. Retrieved May 1, 2016, from http:// www.ccd.com.hk/en/index.aspx.

Dabkaew, C. (2000). Karnkhian phab perspective (Thatsaneeyawitthaya). (In Thai) [Interior perspective drawing]. Bangkok: Odean Store Printing & Publishing.

Ideal One. (2011). Portfolio. Retrieved October 1, 2016, from http://ideal1company.com/portfolio

Lawson, B. (1990). How designers think. (In English) Butterworth: n.p.

Leo International Design Group. (2008). Portfolio. Retrieved november 1, 2014, from http://lidg.co.th.com/portfolio.

P49 Deesign & Assosiate. (2010). Portfolio. Retrieved October 1, 2015, from http://www.p49deesign.com/portfolio.

Tantipas, S. (2005). Karnkhian thatsaneeyaphab perspective drawing. (In Thai) [Perspective drawing]. Bangkok: Sipprapa Printing & Publishing.

Downloads

Published

28-12-2018