Tourism facilities and landscape design guideline for natural hot spring tourist attraction

Authors

  • ศุภกิจ ยิ้มสรวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

design guidelin, tourism facilities, landscape architecture, natural tourist attraction, hot spring

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวและภูมิสถาปัตยกรรมแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติประเภทพุน้ำร้อนในประเทศไทย โดยทำการศึกษาจากแหล่งพุน้ำร้อนในพื้นที่ภาคเหนือ ตามเส้นทางสายพุน้ำร้อน เมืองสปาและหมู่บ้านพุน้ำร้อนต้นแบบนำร่องเส้นทางที่ 1 (จ. แม่ฮ่องสอน - จ. เชียงใหม่ - จ. เชียงราย) โดยประยุกต์หลักการจำแนกเขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยหลักช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ หรือ The recreation opportunity spectrum (ROS) เพื่อใช้จำแนกประเภทและความเหมาะสมในการพัฒนาแหล่งพุน้ำร้อนตามประเด็นพิจารณา 3 ประการ ได้แก่ 1) ศักยภาพและคุณภาพของแหล่งพุน้ำร้อน 2) บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนโดยรอบแหล่งพุน้ำร้อน 3) การบริหารจัดการแหล่งพุน้ำร้อนในมิติของแหล่งท่องเที่ยว โดยพิจารณาควบคู่กับการศึกษาด้านขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ (carrying capacity, CC) ระดับการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้ (limits of acceptable change, LAC) และรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสม ประกอบกับการสำรวจภาคสนามทางกายภาพเพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และแผนที่ฐาน (base map) พื้นที่พุน้ำร้อน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการวางผังบริเวณ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ภูมิสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยสามารถสรุปรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ 3 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ธรรมชาติและสงวนรักษา พื้นที่สีเขียวเพื่อนันทนาการ และพื้นที่ควบคุมเพื่อสิ่งแวดล้อม สำหรับการพัฒนาต้นแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ประกอบด้วย สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเข้าถึงและระบบสัญจร สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสิ่งปลูกสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกประกอบบริเวณนั้น การวิจัยได้ทำการสำรวจข้อมูลภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนโดยรอบพื้นที่พุน้ำร้อน อาทิ สถาปัตยกรรม ผลิตภัณฑ์ ศิลปหัตถกรรมและการใช้วัสดุท้องถิ่น เพื่อนำมาวิเคราะห์และสร้างภาพลักษณ์สถานที่ (destination image) เพื่อให้การพัฒนาต้นแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและและภูมิทัศน์วัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งสามารถแสดงภาพลักษณ์สถานที่ที่แตกต่างกันของแหล่งพุน้ำร้อนได้

References

American Planning Association. (2000). APA policy guide on planning for sustainability. New York: n.p.

Chetamart, S. (n.d.). Karn sue kwammai thammachart. (In Thai) [The interpretation of nature]. Bangkok: Kasetsart University.

Chuamuangphan, N., Vajirakhajon, T., Srisomyong, N., Boonpat, O. & Nomnumsab, W. (2017). Sakkayaphab lae khitchamkat kwam samart nai karn rongrubdai khong phuentee choeng karnthongthiao khong phunamron klumthongthiao arayatham lanna. (In Thai) [Potential and limit of tourism carrying capacity of Lanna hot spring tourism cluster]. Nakhon pathom: n.p.

Department of Mineral Resources. (2016). Namphuron nai prathet Thai. (In Thai) [Hot spring in Thailand]. Mineral Resources Classification Report. Bangkok: n.p.

Echtner, M. & Ritchie, B. (1993). The measurement of destination image: an empirical assessment. Journal of Travel Research, 31 (4), 3-13.

Emphandhu, D., Wannalert, S. & Ratchano, R. (2004). Khumue karn chamnaek khet thongthiao choeng niwet. (In Thai) [Ecotourism classification guideline]. Bangkok: Faculty of Forestry Kasetsart University.

Environmental Research Institute. (2006). Khumue prameon matrathan khunnaphab laeng thongthiao choeng sukkhaphab namphuron thammachat. (In Thai). [Quality assessment guideline for natural hot spring tourist attractions]. Bangkok: Chulalongkorn University.

Gardner, S., Sitthisunthorn, P. & Anusarnsunthorn, V. (2006). Tonmai muangnuea: khumue sueksa phanmai yuenton nai pa phaknuea prathetthai. (In Thai) [A field guide to forest trees of Northern Thailand]. Bangkok: Asia Books.

Homchan, U., Chuangcham, K. & Jiwapornkupt, P. (2017). Thoraniprawat sakkayaphab sathanaphab Khong nam lae khlon phunamron klumthongthiao arayatham Lanna. (In Thai) [Geological history and potential status of hot spring and mud of lanna hot spring tourism cluster]. Bangkok: n.p.

Yimsrual, S. & Theppituck, T. (2017). Karn chai attalak thongthin nai karnoakbab singamnuaikwansaduak phuea pattanalaeng namphuron klumthongthiao arayatham Lanna. (In Thai) [The use of local identity to design facilities for developing Lanna hot spring tourism cluster]. Phitsanulok: n.p.

United States Department of Agriculture: Forest Service. (1982). Recreation opportunity spectrum (ROS) user guide. New York: n.p.

Downloads

Published

28-12-2018